เซน หนทางอันย้อนแย้ง - Zen

แค่อ่านก็ย้อนแย้งแล้ว

เซน หนทางอันย้อนแย้ง - Zen

นี่เป็นหนังสือเล่มที่ 3 ของ OSHO ที่ได้อ่าน ซึ่ง OSHO คือใครไปหากันเอาเองตาม Link นี้ และตามสไตล์การเขียนของ OSHO ครับอ่านยากเหมือนเดิม เปรียบเทียบ ยกนิทานต่างๆนาๆมากมายหลายอย่าง เรื่องนี้พิเศษหน่อยคือพูดถึงศาสนา “เซน” ครับ ซึ่งเป็นศาสนาที่ผมเคยได้ยินซึ่งถ้าจำไม่ผิดมันคือศาสนาที่ดังในจีนหรือญี่ปุ่นเนี่ยแหละประมาณ “เซน ชินโต” อะไรประมาณนี้ พอค่อยๆอ่านไปเรื่อยๆซึ่งก็มีโกรธ โมโห อยู่หลายตอนเพราะสไตล์การเขียน OSHO ที่ว่ากันแบบสุภาพแต่เจ็บถึงใจ แนวทางการสอนของ เซน แม่งก็โคตรย้อนแย้งในตัวเองเช่น หนังสือบอกว่า เซน พยายามจะบอกทางตรงให้กับคนที่ศึกษา แต่พออ่านแต่ล่ะเรื่องที่เขามายกตัวอย่างนี่โคตรพ่อโคตรแม่ปริศนาธรรม คือ ต้องคิดลึกแค่ไหนวะกว่าจะเข้าใจ แล้วมันทางตรงส่วนไหนของ … วะ ไอห่า แต่ละอันก็สอนโคตรนามธรรมไม่มีคำอธิบายที่คนปกติเข้าใจได้ง่ายๆ แล้วมันทางตรงตรงไหนวะไอห่า บอกเลยผมโคตรเกลียดความย้อนแย้งแบบนี้มากๆ แต่ก็พยายามอ่านและทำความเข้าใจมันเรื่อยๆ ซึ่งผมเข้าใจว่าผมคงต้องอ่านมันจบแล้วไปทำอย่างอื่นสักปีสองปีแล้วค่อยกลับไปอ่านอีกรอบ

อยู่กับปัจจุบัน และ องค์รวม

ในหนังสือเล่มนี้ไม่พูดอะไรมากไปกว่าการพูดถึงหลักคำสอนของศาสนา เซน ซึ่งศาสนานี้ไม่มีอะไรมากเลยครับ เซนคือการอยู่กับปัจจุบันอยู่กับวินาทีนี้ ไม่มีอดีต ไม่มีอนาคต มีแต่ตอนนี้ โดยเซนพูดถึงองค์รวม โดย OSHO นั้นยกทฤษฏีทางศาสนาที่ศาสนาจำนวนหนึ่งแบ่งมนุษย์ออกเป็น 3 ส่วน คือ 1.ส่วนหัวคือปัญญาเป็นศูนย์รวมของความดีต่างๆ 2. ส่วนท้องคือส่วนอารมณ์ความรู้สึก 3. ส่วนเพศหมายถึงความรู้สึกทางเพศ หรือความรู้สึกของร่างกาย โดยศาสนาต่างๆนิยามว่า พระเจ้ามีส่วนที่เป็นหัวอย่างเดียว ปิศาจมีส่วนเพศอย่างเดียว ส่วนมนุษย์อย่างเราๆมีทั้ง 3 ส่วนอยู่ แต่ศาสนาพยายามให้เราละทิ้งส่วนที่เป็นอารมณ์ความรู้สึก ส่วนเพศทิ้งให้เหลือแต่ส่วนปัญญา ซึ่งถ้ามองแบบคนธรรมดาก็ดูดีไม่มีอะไรไม่ดี แต่เซนเสนอว่ามันเป็นอะไรที่ประหลาดทำไมเราต้องทิ้งทั้ง 2 ส่วนที่เหลือทิ้งล่ะ ในเมื่อมันเป็นตัวเราเราจะทิ้งตัวเราไปได้อย่างไร เซนเน้นความสมดุล ถ้าท่านพยายามปิดกั้นบางอย่าง จริงอยู่ที่มันปิดกั้นสิ่งนั้นได้แต่สิ่งที่ท่านปิดกั้นนี้จะไประเบิดที่อื่น OSHO แนะนำให้ดูพวกนักบวชที่ปืดกั้นเรื่องเพศ คนพวกนี้จะเก็บกดขึ้นเรื่อยๆจนสุดท้ายเป็นบ้าไป ซึ่งผมเคยได้ยินมาว่ามีนักบวชชั้นสูงสักที่คลั่งวิ่งเอาค้อนไล่ทุบรูปปั้นยุคกลางที่โชว์อวัยวะเพศชายซึ่งมันก็คงเป็นประมาณนั้นล่ะมั้ง เซนสอนให้เรายอมรับทุกส่วนละทิ้งทุกสิ่งทุกอย่างที่เคยร่ำเรียนมา ไม่มีอดีต ไม่มีอนาคต มีแต่ตัวเราตอนนี้สัมผัสรู้สึกถึงตัวเองในขณะนี้ ท่านจะไม่มีอคติใดๆ ท่านจะเป็นเพียงกระจกที่สะท้อนสิ่งที่มากระทบท่าน ซึ่งคำสอนของศาสนาสำหรับผมก็โอเคมากเลยนะ ผมว่ามันโอเคกว่าศาสนาพุทธ(เทียม) ที่สอนเรื่องเวรกรรม การทำความดีแล้วจะได้ขึ้นสวรรค์ ทั้งๆที่ความจริงความสุขความทุกข์มันอยู่ที่เราตัดสินล้วนๆ ไม่มีกรรมเก่ามาคอยหลอกหลอนท่านหรอก กรรมเก่านั้นมันเป็นเรื่องผ่านไปแล้วไม่มีอะไรมาหลอกหลอนท่านได้แล้วมีแต่ตัวท่านเองนั้นแหละที่เก็บเอามาคิดวุ่นวายมากเรื่อง แล้วก็เอาไอเรื่องเวรกรรมไปเฝ้าฝันถึงอนาคตบ้าบอที่จะได้ไปสวรรค์ชั้นฟ้า คิดว่าบุญจะมาช่วยเหลือให้ถูกหวยบ้าบอคอแตก คิดว่าบุญที่ทำในปัจจุบันจะไปช่วยอนาคต พอทำมากๆแล้วไม่ได้ผลอย่างหวังก็มาเป็นทุกข์มาบ่นว่าทำดีไม่ได้ดี บ้ารึเปล่า ผมว่าพระองค์คงไม่อยากให้เราคิดแบบนั้นหรอก พระองค์คงอยากให้เราอยู่กับปัจจุบันเสียมากกว่า มีสติระลึกว่าตัวเองกำลังทำอะไร มีความสุขอยู่กับตอนนี้เสียมากกว่า เราไม่จำเป็นต้องเลือกเป็นพระเจ้า ปิศาจ นักบุญหรืออะไร เราแค่เป็นในสิ่งที่ตัวเราตัดสิน ณ เวลานั้น

ท่านจะแบกมันไว้ทำไม

มีตอนนึงของหนังสือเขียนไว้ดีมากเกี่ยวกับการที่เราพยายามแบกฐานะใดฐานะหนึ่งไว้ เช่น ผมเป็นโปรแกรมเมอร์ ผมพยายามแบกฐานะนี้ไว้ตลอด ทำอะไรก็ยึดหลักการเหตุผลอะไรไปหมด แบกมันไว้จนผมมองไม่เห็นอะไรเลย เซนพยายามบอกว่า เมื่อท่านหมดเวลาที่ท่านเป็นอะไรไปแล้วก็จงละทิ้งมันไป จะแบกมันไว้ทำไมล่ะ ถ้าท่านเป็นโปรแกรมเมอร์ตลอดเวลาท่านจะมีความสุขกับสิ่งไร้เหตุผลได้ยังไง ท่านจะมีความสุขกับเสียงนกร้องได้ยังไง ท่านจะเพลิดเพลินกับบทกวีได้ยังไง ท่านพลาดอะไรไปหลายๆอย่างในชีวิต เพียงเพราะท่านแบกบางอย่างที่ไร้สาระเช่นหน้าที่การงานของท่านไว้ตลอดเวลา เรื่องนี้มันก็ตลกกับสังคมบ้านเราเหมือนกันนะ ผมจำได้ว่าเราถูกสอนว่าหน้าที่ก็เป็นแค่หัวโขน หมดเวลาก็ถอดหัวโขนออก แต่ไปๆมาๆบางอาชีพเหมือนกับโดนบังคับให้สวมหัวโขนตลอดเวลา เช่น ครู ที่ต้องทำตัวรักษาความประพฤติบ้าบออะไรอยู่ตลอดเวลา ซึ่งจริงๆผมก็พอเข้าใจนะว่าทำไมต้องรักษามันไว้ เพราะถ้าตัวครูไม่ทำแล้วคนที่ถูกสอนจะเชื่อได้ยังไงใช่ไหม หรือ พวกผู้พิพากษาที่ต้องทำตัวผดุงเกียรติอะไรบางอย่างอยู่ตลอดซึ่่งสิ่งทั้งหมดมันเป็นแค่ของจอมปลอมที่สร้างขึ้นมา แต่ผมก็เข้าใจว่าทำไมเขาต้องรักษานะ เพราะการพิพากษาควรจะมาจากคนที่ดูน่าเชื่อถือ ถ้าผู้พิพากษาทำอะไรที่ทำให้หมดความน่าเชื่อถือใครก็จะเชื่อ แต่จริงๆมันทำให้เราหลงประเด็นนะ คำพิพากษาควรจะมาจากความสมเหตุสมผลและข้อกฏหมายมากกว่าความน่าเชื่อถือของผู้พิพากษา เรื่องครูก็เช่นกัน คำสอนนั้นเด็กควรจะเลือกเชื่อเพราะเขาตัดสินใจจากคำสอนไม่ใช่เพราะตัวครู แต่มันก็เป็นเรื่องยากแหละครับเพราะสิ่งเหล่านี้ปลูกฝังและลงรากลึกอยู่ในความคิดพื้นฐานของเราเสียแล้ว เราว่าใครไม่ได้ เราเปลี่ยนโลกไม่ได้ แต่เราเปลี่ยนตัวเองได้นะ

อ่านแล้วได้อะไร

อ่านเล่มนี้ก็ได้เรียนรู้เกี่ยวกับศาสนา เซน ว่าเขาสอนอะไร ซึ่งเรื่องที่เขาสอนเป็นอะไรที่โคตรจะเข้าใจยาก แต่ถ้าเอาเปลือกๆที่เขาสอนมาปรับใช้กับชีวิตได้หลายอย่างเช่น การทิ้งอดีตทิ้งไป อดีตเป็นสิ่งที่จบไปแล้วผมไม่ควรสนใจมัน อดีตในที่นี้หมายถึงเรื่องที่เกิดไปแล้วเป็นความจริงที่กลับแก้ไขไม่ได้แล้ว แต่สิ่งที่ให้ทิ้งไม่ใช่ประสบการณ์นะครับที่ให้ทิ้ง แต่เป็นอารมณ์ความรู้สึก ความโกรธ ความเกลียด ความไม่พอใจ คุณควรลืมมันเพราะถ้ามันยังอยู่ในปัจจุบันคุณจะไม่เห็นความจริงที่กำลังเจอ คุณจะเจอม่านหมอกแห่งอคติมาบัดบังความจริงที่สะท้อนให้เห็นอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งมันก็เรื่องจริงนะ งานบางงานคือถ้าอยู่กับปัจจุบันมันแค่คุยกันง่ายๆหาข้อสรุป แต่เพราะมีเรื่องอดีตมาปะปน ไอเหี้ยนี่มันทำส้นตีนอะไรไว้กับเรา ทำเรื่องเหี้ยๆอะไรไว้ พลิกลิ้นอะไรไว้ เราก็สร้างม่านหมอกขึ้น เตรียมมีดเตรียมดาบไว้เล่นงานเขาแล้ว เราไม่ได้มองความจริง ณ เวลานั้น เช่นกัน อีกฝ่ายเขาก็สร้างม่านหมอก สร้างความเจ้าเล่ห์เตรียมจะหลอกใช้ เพราะเขารู้ว่าที่เราจะไม่ทำถ้าไม่หลอก ต่างคนต่างมีม่านหมอกบดบังความจริงที่งานก็แค่อะไรอย่างหนึ่งที่เราคุยกับรับปากกันด้วยความจริงใจก็จบเรื่อง มันตลกจริงๆนะ แต่ตลกที่ว่าเป็นตลกร้ายที่เกิดขึ้นทุกเมื่อเชื่อวันนี่สิ

เพลงประกอบการเขียนบทความนี้

เพลงนี้เข้ากับเรื่อง ZEN ดีนะ ไม่ต้องสนใจอดีต ไม่ต้องสนใจอนาคต อยู่กับปัจจุบัน ซึมซับกับสิ่งรอบตัวแล้วมีความสุข