สนิทใจ - Intimacy

สนิทใจ - Intimacy

สนิทใจ - Intimacy

หลังจากคุณอ่านหนังสือปรัชญา ไลฟ์โค้ช แนวทางพัฒนาชีวิตมาหลายเล่ม สิ่งหนึ่งที่ผมได้จากการอ่านหนังสือพวกนี้คือ “คิดก่อนเชื่อ” ใช่ครับ หนังสือพวกนี้บางส่วนจะบอกให้เชื่อ ลองใช้ใจเชื่อดูแล้วจะรู้สึก ใช่ครับมันจะไม่รู้สึกได้ไงก็ความรู้สึกนี่ นั่งดูหนังเศร้าก็รู้สึก ก็ต้องขอบคุณวิชาวิทยาศาสตร์ที่เรียนมาตั้งแต่เด็ก วิชาพระพุทธศาสนาเรื่องกาลามสูตรที่สอนเรื่องการเชื่อ จะเชื่อต้องพิสูจน์ ต้องหาเหตุหาผล ทำให้ผมได้เรื่อง “คิดก่อนเชื่อ” มาเป็นเกราะกันบ้า โอเคเรามาพูดถึงหนังสือเล่มนี้ “สนิทใจ” จาก OSHO ผู้ที่มีคนจำนวนหนึ่งนับถือดุจพระเจ้า อีกกลุ่มบอกว่าเป็นจอมลวงโลก ซึ่งผมจะตัดชื่อเขาออกไป จะดูเนื้อในของหนังสือเล่มนี้กัน

เล่มนี้พูดถึงความสนิทใจ ความสนิทใจในที่นี้คือการที่เราจะเปิดเผยตัวตนของเราจริงๆให้กับใครสักคนได้อย่างสนิทใจ ตัวตนจริงๆในที่นี้ไม่ใช่ร่างกายครับ แต่เป็น ความคิด ความเชื่อ วิธีคิด นิสัยต่างๆ เรื่องที่ผ่านมา ตัวอย่างเช่น รสนิยมทางเพศ ความต้องการทางเพศ ความคิดเกี่ยวกับการมองโลกที่อาจจะแตกต่างจากคนอื่น ซึ่งเป็นสิ่งที่คนส่วนใหญ่มองว่าผิดปกติ ประหลาด ซึ่งทุกคนปกปิดไว้ไม่ให้ใครทราบ เราจะเปิดสิ่งนี้กับผู้ที่สนิทใจแล้วเท่านั้น

เรื่องลับที่ไม่อยากให้ลับ

มันก็เหมือนเรื่องซุบซิบนินทาสนุกปาก เรื่องความลับที่มันเป็นความลับแต่จะมีความต้องการบางอย่างของคน (หรือมนุษย์แล้วแต่จะเรียก) พยายามที่จะบอกเรื่องราวความลับนี้กับใครสักคน ใช่ครับ อย่างผมชอบผู้หญิงคนหนึ่งมากๆมันเป็นความลับของผม ผมรู้ว่าถ้าความลับนี้เปิดเผยไปอาจนำมาซึ่งปัญหา เช่น ฝ่ายหญิงอาจจะไม่โอเคแล้วสร้างระยะห่างเพื่อไม่ให้เป็นการสร้างความหวังกับฝ่ายชาย (ถ้าเจ้าตัวไม่ทราบว่าจีบเขาจะปฏิบัติอย่างเป็นธรรมชาติ) แต่จนแล้วจนรอดผมก็อยากเปิดเผยความลับนี้ให้ใครสักคนรู้เพื่อให้เขาแบ่งเบาเรื่องหนักอกนี้ ให้เขาให้คำปรึกษา ใช่ครับไอความสนิทใจนี้ก็เช่นกัน เราต้องการใครสักคนมาแบ่งปันความเป็นตัวของตัวเองนี้ แต่ๆๆๆๆๆๆๆ ใครกันจะมาแบ่งปันความประหลาดนี้กับคุณในเมื่อสังคมตีมาตรฐานความปกติให้กับคนทุกคนไปแล้ว ถ้าความฝันของคุณอยากเป็นนักวิทยาศาสตร์ในครอบครัวที่เป็นหมอสอนศาสนา หรือ กลับกันถ้าคุณอยากเป็นหมอสอนทางจิตวิญญาณในครอบครัวแพทย์ แน่นอนครับมันเป็นความลับ เป็นความฝัน ที่คุณไม่อยากให้ครอบครัวคุณทราบ แต่คุณก็อยากได้ใครสักคนที่สนิทใจพอมาแบ่งปัน นั่นไงความประหลาดของมนุษย์

เริ่มเข้าสู่เรื่องอารมณ์

ที่พูดไปเมื่อกี้พูดถึงเรื่องพวกความฝัน คราวนี้ผู้เขียนเริ่มเจาะลึกลงไปถึง อารมณ์ ใช่ครับ คนทุกคนย่อมมีอารมณ์ โกรธ รัก ชอบ สนุก แต่เมื่อมนุษย์มาใช้ชีวิตร่วมกัน คุณจะแสดงอารมณ์เหล่านี้ในระดับไหน ถ้าคุณโกรธคนจะแสดงความโกรธใส่คนที่ใช้ชีวิตร่วมได้แบบเต็มทีเหรอ คำตอบในใจก็คงบอกว่าไม่ครับ ใครมันจะโกรธชี้หน้าด่าพ่อคนที่โกรธได้ในเมื่อเราต้องอยู่ในสังคมส่วนรวมนั้น แต่ๆๆๆๆ คนเขียนกลับบอกว่านี่คือความป่วยไข้ เราทุกคนต่างจอมปลอมไม่แสดงอารมณ์ที่แท้จริงต่อกัน ครับถึงประโยคนี้ผมยอมรับเลยว่าจริง เมื่อเราไม่แสดงอารมณ์ที่แท้จริงต่อกัน แล้วคุณจะรู้ได้ยังไงว่าสิ่งที่แสดงออกมาคือความจริง เขาโกรธแต่เขายิ้มแย้มกับคุณ รอยยิ้มที่คุณเห็นจากคนที่คุยด้วยมันใช่ของจริงรึเปล่า หลายคนอาจจะบอกว่าจริง แต่ถ้าคนเราฝึกฝนมากพอเหมือนนักแสดงที่สามารถแสดงทุกอารมณ์ออกมาได้ทุกเวลาคุณจะเชื่อได้เหรอ นั่นแหละครับปัญหา

การจะสร้างความสนิทใจ

จากปัญหาข้างบนที่เราไม่สามารถแสดงอารมณ์ที่แท้จริง นิสัยที่แท้จริง ความคิดที่แท้จริง กับคนทุกคนได้ดังนั้น เราจึงต้องหาคนที่สนิทใจ แต่เราจะหาคนที่จะสนิทใจได้ยังไงล่ะ นี่สิคงจะเป็นปัญหาที่แท้จริง แล้ววิธีแก้ปัญหาง่ายๆของคนเขียนคืออะไรรู้ไหมครับ ใช่ครับ คำตอบง่ายๆคือ “เริ่มที่ตัวเอง” ครับมันเป็น Solution ที่ออกจะไม่ว้าวเท่าไหร่ แต่มันก็มีเหตุผลของมัน

ยอมรับตัวเอง

การยอมรับตัวเองคือยอมรับว่าตัวเองมีลักษณะอย่างไร อันนี้คนเขียนเขาเขียนไปถึงระดับจิตวิญญาณยกตัวอย่างเปรียบเทียบมากมายซึ่งผมรู้สึกเอียนในระดับนึง เหมือนจับเอาเรื่องเล่าของหลายๆที่ที่มันตรงกับเรื่องมาเล่ายกตัวอย่าง ถ้านึกไม่ออกนึกถึง “นิทานชาดก” ที่พระพุทธเจ้าเล่า(ใช้คำว่าคนที่อ้างว่าได้ยินพระพุทธเจ้าเล่าน่าจะถูกกว่า) ให้ฟังประกอบเหตุการณ์ การยอมรับตัวเองก็ว่าง่ายๆ ยอมรับว่าสิ่งที่ตัวเองเป็นไม่ได้น่าเกลียด ต้องกำจัดหรือทำลายทิ้ง เช่น ถ้าคุณรู้ว่าตัวเองเป็นคนโมโหง่าย คุณแค่ยอมรับว่าคุณเป็นคนโมโหง่าย ไม่ต้องมองว่ามันแย่ คุณแค่ต้องรู้ว่าคุณโมโหง่าย เวลาคุณโมโหก็ขอให้รู้ว่าโมโห เมื่อโมโหเสร็จคุณจะทำอะไรต่อ คุณควรขอโทษคนที่คุณโมโหใส่ บอกตามตรงว่าเมื่อกี้แค่โมโห แค่นั้น อ่านแล้ว WTF ไหมล่ะ ใช่ครับผมก็ WTF เหมือนกัน มันใช้กับพวก Case normal ได้ แต่ถ้าใช้กับพวก Worst case นี่จะบัดซบมากเช่น ถ้าใช้กับกรณีคนที่เป็นฆาตกรโรคจิตล่ะ แค่คิดก็ เหี้ย มากๆละ ในส่วนนี้ผมเข้าใจว่าทำไมเขาอยากจะสอนแบบนี้นะ คือ ถ้าเรายอมรับได้ว่าตัวเองเป็นคนแบบไหน รับว่ามันเป็นเรื่องธรรมดาที่คนปกติจะคิดแบบนี้ มันไม่ใช่เรื่องเลวร้าย (กรณีปกติ) เช่น ผู้ชายคนนึงจะมีรสนิยมชอบผู้หญิงในชุดนักเรียนใส่แว่น แม้เขาจะอายุร่วม 50 ปีแล้ว คุณอ่านประโยคที่ผมพิมพ์คุณอาจจะบอกว่า “ไอคนนี้มันตาแก่ตัณหากลับ” แต่ๆๆๆ แล้วใครเป็นคนกำหนดเรื่องนี้เป็นความไม่ปกติล่ะ มันผิดตรงไหนที่ชายวัย 50 จะชอบสาวรุ่นลูกในชุดนักเรียนใส่แว่น อะไรไปฝังสมองพวกคุณว่ามันไม่ถูก ใครล่ะ ศาสนา สังคม หรืออะไร (แต่จริงๆเรื่องนี้มันก็จะขัดๆเมื่อเป็น Worst case อย่างฆาตกรฆ่าคนเพราะทุกคนต่างรู้ว่าการฆ่าคนเป็นเรื่องไม่ดีซึ่งผมก็ไม่รู้ว่าใครโปรแกรมสิ่งดีไม่ดีเหล่านี้ขึ้นมาในสมอง )

อันนี้ผมเข้าใจว่าคนเขียนอยากให้เราทำลายกำแพงการตัดสินว่าสิ่งใดถูกใดผิดแบบสูงสุดฟ้าให้เหลือในระดับที่ทุกคนสามารถมองบางเรื่องเป็นรสนิยมได้ ซึ่งการเริ่มที่ตัวเองนั้นง่ายที่สุด ถ้าคุณยอมรับว่าตัวเองโมโหง่าย ยอมรับว่าชอบเด็กสาววัยรุ่นอายุ 18 ปีใส่แว่นได้ แม้ตัวเองจะอายุ 50 แล้วก็ตาม การจะทำข้อต่อไปก็ไม่น่ายาก

ยอมรับผู้อื่น

ใช่ครับไอข้อที่แล้วมันคือการปูทางมาที่ข้อนี้ หากเรายอมรับสิ่งที่คนอื่นคิดว่าไม่ปกติได้แล้วเหตุใดคุณจะยอมรับสิ่งเดียวกันกับคนอื่นไม่ได้ ไงล่ะ ง่ายไหม เออง่ายจริง มันเหมือน คุณโกงได้ แล้วทำไมคุณจะเห็นคนอื่นโกงไม่ได้ (อันนี้ยกตัวอย่างแย่ๆหน่อยนะ) อาการก็จะประมาณนี้ ด้วยวิธีนี้คุณจะเปิดใจกับเรื่องบางเรื่องได้ มองว่ามันเป็นเรื่องปกติที่คนคนนึงจะเป็น เขาอยากจะเป็นหมอทั้งๆที่ครอบครัวเป็นนักดนตรี แล้วมันประหลาดตรงไหน เขามีรสนิยมเรื่องเพศแบบนี้แล้วเขาผิดตรงไหนใช่ไหมล่ะ

เมื่อต่างคนต่างยอมรับกันไม่มีกำแพง ทุกคนก็สนิทใจกัน

ทั้งหมดมาจบตรงนี้ครับ เมื่อเราต่างยอมรับสิ่งเหล่านี้จากกันและกันได้เราก็สนิทใจกัน แสดงแต่สิ่งที่จริงใจ ไม่มีการแสดง เราก็คงจะมีความสุขในการมีความสัมพันธ์ พูดคุยกับคนหลายๆคนได้อย่างเปิดเผยและมีความสุข

คิดง่ายไป

ในทางทฤษฎีเรื่องนี้เป็นเรื่องที่น่าสนใจครับ ผมล่ะโคตรชอบ แต่ๆๆๆ (ไปติดคำนี้มาจากไหนวะ) ในความเป็นจริงแค่กรณี Worst case เรื่องฆาตกร เราจะยอมรับคนมีรสนิยมฆ่าคนได้เหรอ คนเขียนมันไม่ได้เขียนไว้นี่… ใช่ครับคนทุกคนมักจะเขียนแนวคิดวิธีการที่มีแต่ด้านดี ไม่เคยพูดข้อเสีย หรือกรณีที่มันขัดกับแนวคิด แบบนี้วิทยาศาสตร์มันเลยดีไง เพราะมันต้องผ่านการตรวจสอบ การทดลองเพื่อทำลายแนวคิดนั้น ตั้งกรณีต่างๆขึ้นมา อย่างทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปของไอสไตน์ยังมีปัญหาในพื้นที่สุดขั้วรูปแบบหนึ่งเลย ซึ่งก็ต้องเขียนเป็น Exception ไว้ว่าถ้าเข้ากรณีนี้จะใช้ไม่ได้ แล้วเราจะมองกรณีฆาตรกรให้เป็นเรื่องปกติได้เหรอ ฆ่าคนทั้งคน คุณยอมรับได้เหรอ การใช้อารมณ์โมโหในการคุยกัน คุณยอมรับได้เหรอ ทำไมถึงยอมรับไม่ได้ อะไรเป็นตัวแบ่ง สุดท้ายก็คือความรู้สึกส่วนตัว ซึ่งเป็นเรื่องที่ได้รับการปลูกฝังมาจากสังคมนั่นเอง แล้วมันก็กลายเป็นงูกินหาง เพราะคนเขียนด่าสังคมว่าหล่อหลอมคนด้วยบรรทัดฐาน แต่ถ้าไม่มีบรรทัดฐานจะเอาอะไรตัดสินเรื่องที่ยอมรับได้ยอมรับไม่ได้ล่ะ

สุดท้ายมันเป็นเรื่องของบุคคล

สำหรับผมนั้นสังคมอุดมคติของผู้เขียนวาดฝันคงเป็นเรื่องยากที่จะเป็นได้ แต่เรื่องสนิทใจอันนี้ผมว่าเป็นเรื่องของแต่ละบุคคลว่าจะยอมรับเรื่องบางเรื่องได้แค่ไหน แต่สำหรับผมการยอมรับเรื่องบางเรื่องผมใช้แนวทางการตั้งคำถามกับสิ่งนั้นว่าถ้ามันมีแล้วมันจะเกิดอะไรขึ้นมา ผลลัพธ์ที่คาดว่าไม่ดีนั้นจริงรึเปล่าหรือเราคิดไปเอง ถ้าเราเริ่มตั้งคำถามแล้วทำการพิสูจน์ เราอาจจะยอมรับสิ่งที่เราคิดว่าแปลกประหลาดนั้นก็ได้ ถ้าเราลองพูดถึงกรณีของผมในอนาคต ถ้าผมชอบเด็กนักเรียนน่ารักใส่แว่น คำถามต่อไปคือผมทำอะไรกับเด็กเหล่านั้นไหม ผมแค่ชอบ คำถามถัดไปการที่ผมชอบตอนผมอายุ 20 เป็นเรื่องเหมาะเรื่องควร แต่ตอนผมอายุ 50 ทำไมถึงไม่เหมาะไม่ควร เหตุใดที่ไม่เหมาะไม่ควร อายุ 50 ต้องไปเข้าวัดเข้าวาสวดมนต์เหรอ การมีอายุเป็นตัวกำหนดกิจกรรมมันใช่เรื่องที่เหมาะสมจริงเหรอ ถ้าเราตั้งคำถามและหาคำตอบได้เราอาจจะตัดสินเรื่องบางเรื่องว่ามันเป็นเรื่องปกติ ไม่ใช่เรื่องที่ไม่ถูกไม่ควร

ก่อนจาก

จริงๆในหนังสือเล่มนี้มีพูดถึงหลายเรื่องที่เยอะกว่าที่ผมเล่าให้ฟัง เป็นเรื่องทางจิตวิญญาณ การยอมรับต่างๆนาๆ ซึ่งผมไม่ค่อยเข้าใจ ผมเลยเขียนเฉพาะเรื่องที่ผมอ่านแล้วเข้าใจ ดังนั้นผมแนะนำให้ลองไปหามาอ่านไม่ว่าจะซื้อหรือยืม เพราะเราควรอ่านแล้วทำความเข้าใจจากการอ่านไม่ใช่ผ่านการ Review บางทีการอ่านของคุณอาจจะได้บางอย่างที่ไม่เหมือนผมก็ได้ครับ แล้วก็หนังสือเล่มนี้น่ารองขาโต๊ะไหม ผมก็ไม่รู้เหมือนกันถ้าคิดว่าหนังสือเล่มล่ะร้อยกว่าบาทควรจะไปรองขาโต๊ะก็ลองเอาไปรองก็ได้ครับ ได้ที่รองขาโต๊ะปกสีชมพูน่าจะเหมาะอยู่