Hike News
Hike News

Fahrenheit 451

Fahrenheit 451

Fahrenheit 451

ผมไปหาหนังสือเล่มนี้มาอ่านเพราะเป็นนิยายวิทยาศาสตร์ที่ได้รับรางวัลหลายรางวัล ก็เลยอยากรู้ว่ามันจะสนุกหรือน่าสนใจขนาดไหน โดยเนื้อเรื่องคร่าวๆของเรื่องจะพูดถึงโลกในอนาคตที่หนังสือกลายเป็นสิ่งต้องห้าม นักดับเพลิงเปลี่ยนหน้าที่จากคอยดับเพลิงมาเป็นนักเผาหนังสือแทน โดยเรื่องจะเล่าผ่านนักดับเพลิงที่เป็นพระเอกของเรื่องว่าเขารู้สึกอย่างไรกับโลกใบนั้น ส่วนชื่อหนังสือที่ชื่อว่า Fahrenheit 451 นั้นมาจากอุณหภูมิที่หนังสือถูกเผา

ทุกอย่างเร่งรีบไปหมด

ในโลกอนาคตเวลาทุกวินาทีมีคุณค่ามากๆ ดังนั้นทุกอย่างต้องรวดเร็วไม่ว่าจะเป็นการเดินทาง การฟังข่าว หนังสือเล่าว่ามนุษย์มีจอทีวีบนผนังและสวมหูฟังรับฟังข่าวสารตลอด ข่าวข่าวหนึ่งนั้นสั้นมากอยู่ในระดับวินาที พอข่าวหนึ่งจบก็เปลี่ยนไปข่าวใหม่ เป็นรายการต่างๆนาๆอย่างรวดเร็ว ผู้คนสื่อสารกันผ่านหูฟังที่เสียบอยู่ตลอดและไม่ให้ความสนใจสภาพแวดล้อมรอบตัว ตัวเรื่องเล่าถึงขนาดว่าภรรยาของตัวเองนั้นไม่ได้สนใจตัวพระเอกเลย กลับมาแทบจะไม่พูดคุย กินข้าวด้วยกัน สามีภรรยาเหมือนคนที่แค่อยู่ด้วยกัน จนมีเรื่องตลกที่ว่าคนเข้าห้องผิดแต่คนที่อยู่ในห้องไม่รู้เรื่องเพราะไม่สนใจ และคนที่เข้าห้องผิดก็ออกไปทำงานตอนเช้าโดยไม่รู้ว่าเข้าห้องผิด แถมเหมือนการเสพติดการทำอะไรแบบเร่งรีบแบบนี้ทำให้คนเป็นโรคบางอย่างซึ่งต้องเอาเครื่องบางอย่างมารักษา (ในเรื่องเรียกว่างู) ซึ่งพอรักษาคนที่ได้รับการรักษาก็ไม่ทราบเลยว่าตัวเองเป็น แล้วก็กลับไปเข้าสู่วงจรเดิมอีก

ทำไมหนังสือถึงเป็นสิ่งต้องห้าม

หนังสือถูกต้องห้ามก็เพราะมันสร้างความรู้สึก ความนึกคิดที่อยู่เหนือความจริงในปัจจุบัน เช่น มันทำให้รู้สึกเศร้าทั้งที่ไม่เศร้า ทำให้คนเหมือนรู้เยอะทั้งที่แค่อ่านหนังสือเพียงเล่มเดียวก็ไปดูถูกคนอื่น อ้างข้อความในหนังสือไปปลุกระดมให้ทำสิ่งนั้นสิ่งนี้ หนังสือเลยกลายเป็นสิ่งต้องห้าม เพื่อตัดปัญหาต่างๆที่กล่าวไป

อ่านแล้วได้อะไร

สำหรับหนังสือเล่มนี้อ่านแล้วทำให้เราเห็นด้านต่างๆที่หนังสือมอบให้แก่เราทั้งกำลังใจ ความหวัง แต่หนังสือก็มอบความหยิ่งยโส ดูถูกคนอื่น ปลุกระดมให้คนทำบางสิ่งบางอย่าง อีกทั้งยังเล่าถึงสิ่งที่ผู้แต่งคิดว่าจะเกิดขึ้นจากการที่เราทำอะไรแบบมากเกินไป เช่น ฟังอะไรที่สั้นๆ เปลี่ยนเรื่องไปเรื่องมาแบบรวดเร็ว จนสมองเราพยายามจะรับเรื่องใหม่เข้าไปและลบเรื่องเก่าๆทิ้ง (ในเรื่องถึงขนาดว่าจำไม่ได้กันแล้วว่าเจอกันที่) การไม่ใส่ใจสิ่งรอบข้างจนทำให้เราไม่รู้ถึงขนาดว่าไม่รู้ว่าคนที่เขามาในห้องเป็นใคร การบงการคนในสังคมด้วยวิธีการผิดๆ และการที่ผู้คนเชื่อใจสื่อที่รัฐมอบให้จนไม่ใช้ความคิดและวิจารณญาณของตัวเอง

ก็ตามธรรมเนียมที่ผมจะไม่บอกข้อดีแต่ผมจะบอกข้อเสียด้วย ก็ข้อเสียสำหรับเรื่องนี้คือความน่าติดตามน่าเอาใจช่วยของตัวละครนั้นแทบไม่มีเลย คือผมอ่านแล้วไม่รู้สึกลุ้น หรืออยากใจช่วยตัวเองเลย อีกทั้งการพรรณาต่างๆในเรื่องรู้สึกแปลกๆ (อันนี้อาจจะมาจากการใช้ศัพท์ยากแล้วคนแปลไม่รู้จะมาเทียบเคียงกับอะไรในภาษาไทย) เลยไม่รู้สึกอินกับการพรรณาเหล่านั้น (อาจเป็นเพราะผมไม่ค่อยอินกับการพรรณาอยู่แล้วด้วย)

สำหรับเนื้อเรื่องเกี่ยวกับตัวเอกที่เป็นนักดับเพลิงจะเป็นยังไง อะไรจะเกิดขึ้นกับชีวิตอันแสนปกติของเขา สิ่งที่เขาทำมันเป็นสิ่งที่ถูกหรือสิ่งที่ผิด สิ่งที่รัฐทำนั้นถูกหรือผิด สุดท้ายใครจะเป็นฝ่ายชนะ ก็ลองไปหามาอ่านดูละกันครับ

วิทยาศาสตร์แห่งความสำเร็จ - สูตรครอบจักรวาลสำหรับการทำให้โลกรู้จักและจดจำคุณ

วิทยาศาสตร์แห่งความสำเร็จ - สูตรครอบจักรวาลสำหรับการทำให้โลกรู้จักและจดจำคุณ

วิทยาศาสตร์แห่งความสำเร็จ - สูตรครอบจักรวาลสำหรับการทำให้โลกรู้จักและจดจำคุณ

ผมเจอหนังสือเล่มจากการหาหนังสือจากสำนักพิมพ์ SALT ซึ่งมีหนังสือเชิงปรัชญาและวิทยาศาสตร์หลายเล่มที่น่าสนใจ โดยตอนแรกที่เห็นหนังสือเล่มนี้แล้วแบบ “แม่งแนวจิตวิทยา พัฒนา ตนเอง” อีกแล้วเหรอวะ แต่พออ่านคำโปรยดูแล้วน่าสนใจตรงที่เขาใช้ วิทยาศาสตร์ ในการพิสูจน์ แถมเรื่องที่เขาพยายามจะพิสูจน์ก็คือ การทำยังไงให้โลกรู้จักและจดจำ ก็เลยไปหามาอ่าน

ความสำเร็จเป็นเรื่องของเรา ไม่ใช่เรื่องของคุณเพียงคนเดียว

หนังสือเกริ่นนำเกี่ยวกับเรื่องความสำเร็จโดยแยกความสำเร็จออกเป็นสองประเภทคือ ความสำเร็จส่วนตัวซึ่งคือความสำเร็จที่เราทำแล้วรู้สึกดีเพียงคนเดียว เราเป็นคนวัด มันอาจจะมีคุณภาพห่วยแตกอย่างเช่น ผมวาดรูปผู้หญิงได้ ซึ่งอาจจะเป็นรูปที่โคตรห่วยแตก แต่สำหรับผมอาจจะเป็นความสำเร็จโคตรๆแล้ว ถ้าเป็นความสำเร็จแบบนี้หนังสือจะไม่พูดถึง ส่วนความสำเร็จอีกแบบคือความสำเร็จที่วัดจากคนจดจำคุณ ซึ่งตัวหนังสือจะลงรายละเอียดเกี่ยวกับความสำเร็จประเภทนี้

หนังสือเล่าถึงนักบินในยุคสงครามโลกที่ได้ชื่อว่า Red baron ซึ่งเป็นนักบินของเยอรมัน (ลองไป Search ดูครับ โคตรดัง) ทุกคนต่างเชื่อว่า Red baron นั้นโคตรเก่ง เก่งที่สุดในสงครามโลกแล้ว แต่ทางทีมของผู้เขียนเนี่ยไปทำศึกษาข้อมูลจริงๆกับพบว่า เรอร์เน ฟงก์ (ลอง Search หาใน Google ดู ไม่มีข้อมูลเลย) ซึ่งเป็นนักบินที่เก่งกว่า เพราะเขายิงเครื่องบินตกได้เยอะกว่า แถมแกยังมีชีวิตรอดหลังสงครามด้วยนะครับ พออ่านมาถึงตรงนี้ผมก็เริ่มเหวอละว่า อ้าวทำไมคนเก่งกว่าไม่ถูกจดจำ ซึ่งมันก็เหมือนเรื่องที่คุณในสังคม นักดนตรีเก่งๆ นักวิชาการเก่งๆ นักแสดงเก่งๆ กลับไม่ค่อยมีคนรู้จัก เราจะรู้จักแต่ใครที่อยู่ในกระแส หนังสือให้ข้อสรุปง่ายๆว่า ความสำเร็จเป็นเรื่องของเรา ความสำเร็จจะดูมีคุณค่า มีคนรับรู้ พูดถึง ความสำเร็จของ Red baron มาจากสื่อที่ยกย่องเขาเป็นวีรบุรุษสงคราม บอกเล่าความเก่งกาจจนมีคนสนใจ ต่างจาก เรอร์เน ฟงก์ ที่ภายหลังไปเล่นการเมืองแล้วชื่อเสีย ไม่มีใครกล่าวชมเขาเพราะชื่อของเขาเสียไปแล้ว ไม่มีใครพูดถึงความเก่งกาจ ความเสียสละของเขาในสงครามเลย ดังนั้นเขาจึงหายไปตามเวลา คุณจะรู้จักเขารู้ถึงความสำเร็จก็ต่อเมื่อคุณไปวิจัยแบบที่ทีมนักเขียนทำ

หนังสือพูดถึงกฏ 5 ข้อ ที่ถ้าคุณทำได้แล้วโลกจะจดคุณ ซึ่งพอผมอ่านแล้วก็จริง แต่พออ่านแล้วก็หดหู่เช่นกัน เดี๋ยวบอกละกันว่าทำไมถึงหดหู่

กฏข้อที่ 1 ผลงานขับเคลื่อนความสำเร็จ แต่ถ้าความสำเร็จวัดค่าไม่ได้ เครือข่ายจะเป็นตัวขับเคลื่อนความสำเร็จแทน

ในส่วนของ ผลงานขับเคลื่อนความสำเร็จ ก็ตามนั้นครับ ถ้าคุณเก่งทำผลงานได้ดี สิ่งนี้แหละจะเป็นตัวการันตีความสำเร็จของคุณ ทีมผู้เขียนทำการศึกษาข้อมูลนักเทนนิสจากฐานข้อมูลการแข่งขัน จากนั้นนำไปเปรียบเทียบกับความสำเร็จของนักเทนนิสคนนั้นโดยวัดจากการเป็นที่จดจำและรายได้ ซึ่งผลลัพธ์ก็ออกมาตามสิ่งที่เราคิดคือ ถ้าคุณมีความสามารถคุณจะเป็นที่จดจำและมีรายได้ดี ซึ่งจากการพิสูจน์นี้ทำลายความเชื่อเรื่องสถานศึกษาที่ชอบโม้ว่ากันว่า “ถ้าคุณเข้าสถานศึกษานี้ได้ คุณจะได้เงินเดือนมากกว่าคนที่เรียนจากอีกสถานศึกษานึง” ทีมนักเขียนทำการพิสูจน์ว่าไม่จริงครับ โดยไปดูคะแนนของคนที่ได้เข้าที่ดังกับที่ที่รองลงมา ซึ่งคะแนนของทั้งสองคนห่างกันแค่คะแนนหรือครึ่งคะแนนก็เท่านั้น ซึ่งเมื่อพวกเขาตามไปดูหน้าที่การเงินของทั้ง 2 กลุ่มก็พบว่า ทั้งสองกลุ่มได้เงินเดือนแทบไม่แตกต่างกันเลย

คราวนี้มาถึงเรื่องที่ประหลาดกันบ้างครับ ถ้าความสำเร็จวัดค่าไม่ได้ เครือข่ายจะเป็นตัวขับเคลื่อนความสำเร็จแทน คือการศึกษาเกี่ยวกับนักเทนนิสนั้นมันสามารถวัดค่าได้ ซึ่งวัดจากผลการแข่งขันแพ้ชนะ แต่ถ้าเป็นความสำเร็จที่วัดค่าไม่ได้อย่างเช่น งานศิลปะ เราจะวัดค่ายังไง ทีมผู้เขียนได้ทำการศึกษาผ่านเครือข่ายการแสดงผลงานของศิลปินทั้งหลายผ่านแกลลอรี่และพิพิธภัณฑ์ ซึ่งพบว่าพวกศิลปินที่ประสบความสำเร็จนั้นมีรูปแบบการแสดงผลงานที่แกลลอรี่และพิพิธภัณฑ์คล้ายๆกัน กล่าวคือถ้าคุณไปแสดงผลงานในแกลลอรี่ A ซึ่งเป็นแกลลอรี่ที่ศิลปินดังๆไปแสดงผลงาน คุณก็จะประสบความสำเร็จคล้ายๆกับศิลปินดังๆเหล่านั้น เพราะเครือข่ายแกลลอรี่เหล่านั้นต่างส่งเสริมกันและกัน ศิลปินแสดงงานที่แกลลอรี่ดัง แกลลอรี่อยากให้ผลงานของศิลปินนั้นดังเพื่อให้ได้เงินและสร้างชื่อเสียงก็เลยส่งผลงานต่อไปให้เครือข่ายแกลลอรี่ชื่อดัง เพื่อแสดงผลงานต่อไป พอไปโชว์ในเครือข่ายแกลลอรี่ดังๆ คนก็คิดว่างานนั้นมีมูลค่า ศิลปินก็เลยดัง พอดังก็เป็นการเพิ่มชื่อเสียงให้แก่แกลลอรี่ ซึ่งมันก็วนซ้ำกันไปกันมา พอศิลปินดัง แกลลอรี่ก็พยายามทำให้ศิลปินนั้นดังขึ้นไปอีก เพื่อเป็นการการันตีว่าแกลลอรี่นี้แสดงผลงานของศิลปินที่มีฝีมือ (และเงินจากค่าเข้าชมและการประมูลก็เพิ่มสูงขึ้นไปอีก) ซึ่งหนังสือบอกเลยว่านี่คือเรื่องน่าขยะแขยงในวงการศิลปะ ซึ่งผมก็เห็นด้วยและผมก็เห็นด้วยว่าหลายๆวงการก็มีสภาพไม่ต่างจากวงการศิลปะ

กฏข้อที่ 2 : ผลงานมีจำกัด แต่ความสำเร็จนั้นไม่มี

ทีมผู้เขียนยกตัวอย่างเรื่องผลงานมีจำกัดไว้ว่า มนุษย์วิ่ง 100 เมตรได้เร็วที่สุดได้แค่ 8.28 วินาที จะไม่มีเร็วกว่านี้อีกแล้วเนื่องจากข้อจำกัดของร่างกายมนุษย์ ดังนั้นผลงานจึงมีจำกัด แต่ความสำเร็จนั้นไม่มีจำกัด คุณสามารถดูได้จาก ยูเซน โบลต์ที่ความสำเร็จ (ในแง่ของคนที่เป็นที่รู้จัก) นั้นมีเพิ่มขึ้นอย่างเรื่อยๆไปจนถึงระดับโลก ซึ่งทำให้เห็นว่าความสำเร็จนั้นเพิ่มขึ้นได้เรื่อยๆ ในกีฬาอื่นๆก็เช่นกัน ไทเกอร์ ที่ตีกอล์ฟเก่งๆเราจะเห็นว่าความสำเร็จของเขานั้นไม่มีจำกัด เขาสามารถดังได้เรื่อยๆ เช่นกัน

ทีมผู้เขียนอธิบายถึงความประหลาดเรื่องการตัดสินผลงานของมนุษย์ว่า ถ้าเราวัดผลงานที่สุดยอดๆอย่างพวกการวิ่งด้วยเครื่องจับภาพความเร็วสูง ซึ่งเป็นของที่วัดได้อย่างแม่นยำเนื่องจากเป็นเครื่องมือ แล้วการวัดความสามารถโดยมนุษย์กับงานที่ใช้เครื่องไม่ได้ล่ะมันจะเที่ยงทำแค่ไหน โดยปกติมนุษย์แยกคนร้องเพลงเพราะออกจากคนร้องไม่เพราะได้ แยกอาหารอร่อยออกจากอาหารระดับกลางได้ แต่ถ้าผู้เข้าแข่งขันเหล่านั้นเป็นคนที่ร้องเพลงเพราะเหมือนกันหมดล่ะ อาหารเหล่านั้นถูกทำจากพ่อครัวระดับเทพหมดล่ะ อะไรจะเกิดขึ้น ใช่ครับมันเกิดจากการใช้ความรู้สึกซึ่งไม่แน่นอนตัดสินใจ ทีมผู้เขียนใช้การทดลองของกรรมการชิมไวน์ท่านหนึ่งที่สงสัยว่าพวกกรรมการชิมไวน์นี่เที่ยงตรงแค่ไหน โดยทำการให้ชิมไวน์ตัวเดิม 3 ครั้ง โดยไม่บอก และไม่เรียงลำดับ ซึ่งผลการทดลองปรากฏว่านักชิมไวน์นั้นให้คะแนนได้โคตรมั่วมากครับ คือให้คะแนนไวน์ตัวเดียวกันตั้งแต่ 80 จนถึง 97 (ระดับ 97 นี่คือชนะรางวัล) ทั้งที่เป็นไวน์ตัวเดียวกัน โอเคคุณอาจจะบอกว่ามันอาจเป็นเรืองการรับรส ทางทีมผู้เขียนก็เลยไปหาข้อมูลเพิ่มโดยเปลี่ยนไปที่การแข่งขันดนตรีของอังกฤษที่ได้ชื่อว่ายุติธรรมที่สุด โดยมีขั้นตอนที่โคตรยุติธรรม โดยผู้แข่งขันจะได้รับโน๊ตเพลงที่แต่งใหม่เพื่อการแข่งขันนี้โดยเฉพาะในวันก่อนโชว์ในระยะเวลาเท่ากัน เช่น ได้ 7 วันก่อนแสดง เพื่อให้ผู้เข้าแข่งขันไม่ได้เปรียบเสียเปรียบเรื่องการซ้อม หรือรู้โน๊ตก่อนกัน อีกทั้งห้ามเปลี่ยนการให้คะแนนที่ให้ไปแล้วด้วย (กันการใต้โต๊ะเปลี่ยนคะแนน) ซึ่งฟังดูแล้วมันเหมือนยุติธรรมดีนครับ แต่จากผลการตรวจสอบพบว่า คนที่แสดงวันแรกๆ ไม่มีใครชนะการแข่งขันเลย กลับกลายเป็นคนที่แสดงวันท้ายๆที่ชนะ ซึ่งเป็นติดต่อกันมาหลายสิบปีด้วย พอถามว่าคนที่เข้าแข่งนั้นเก่งหรืออ่อนกว่ากันไหม ไม่เลยครับคนที่เข้าแข่งขันคือเทพในระดับวงการในเวลานั้น สุดท้ายเลยมีการตรวจสอบก็พบว่า เหล่ากรรมการมีปัญหาเรื่อง การอคติจากเวลาปัจจุบันครับ ว่าง่ายๆคือเขาไม่เคยฟังเพลงนี้เลยสักครั้งเพราะเป็นเพลงแต่งใหม่ เมื่อเขาฟังเพลงนี้ครั้งแรกๆเขาจะไม่พบความสุดยอดอะไร แต่เมื่อเขาฟังบ่อยขึ้นมันก็เริ่มเพราะขึ้น คะแนนก็เริ่มมากขึ้น อีกทั้งเขายังเปรียบเทียบกับการเล่นก่อนหน้าว่าการเล่นก่อนหน้านั้นไม่เพราะไปกว่าการเล่นครั้งนี้ เขาจดจำครั้งปัจจุบันได้ดีกว่า การเล่นปัจจุบันเลยถูกใจกว่า สุดท้ายคะแนนก็เลยเอนเอียงไปให้กับคนที่เล่นทีหลัง คุณอาจเห็นความประหลาดนี้บ่อยๆ เช่น คนสัมภาษณ์งานคนสุดท้ายได้งาน

นี่คือความหดหู่เมื่อคุณต้องมารู้อะไรแบบนี้ ยิ่งคุณไปดูความแตกต่างระหว่างคนชนะการแข่งขันดนตรีกับคนที่แพ้นะครับ คนที่ชนะได้ออกอัลบั้ม เชิญไปเดินสายต่างๆนาๆ ตามกฏเรื่องความสำเร็จนั้นไม่จำกัด เขายิ่งดังยิ่งสำเร็จขึ้นเรื่อยๆ แต่คนที่แพ้ล่ะ เขาเล่นดนตรีแย่กว่าคนที่ชนะไหม จากผลการศึกษาที่เราเห็นแล้ว ไม่เลยครับ ไม่แน่เขาอาจจะเก่งกว่าเสียด้วยซ้ำ แค่เขาได้ลำดับการเล่นที่ไม่ดี หรือกรรมการไม่มีความเที่ยงตรงเหมือนการชิมไวน์นั่นแหละ สำหรับผมเป็นอะไรที่หดหู่เอาเสียมากๆ ดังนั้นถ้าคุณมีโอกาสได้จัดงานแข่งขันอะไรพวกนี้ คุณควรหาแค่คนเก่งสุดๆในระดับที่แยกแยะออกแล้วให้เขาชนะร่วมกันดีกว่าไหม

กฏข้อที่ 3 : ความสำเร็จที่ผ่าน X ความเหมาะสม

ทีมผู้เขียนได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องที่ทำยังไงถึงจะประสบความสำเร็จในตอนเริ่มได้ง่าย ซึ่งเขาไปทดลองกับ Platform : KickStarter ที่ซึ่งผู้คนมาระดุมทุนเอาเงินไปทำไอเดียที่ตัวเองคิดขึ้นมา ซึ่งก็มีที่สำเร็จและไม่สำเร็จมากมาย ทีมวิจัยพบว่า Project ที่สำเร็จมักสำเร็จส่วนใหญ่เกิดจากมีคนเริ่มบริจาค เพื่อพิสูจน์ข้อสันนิษฐานนี้เขาเลยเลือก Project ใน Kick starter แบบสุ่มๆมา จากนั้นลองสนับสนุน Project นั้น จากนั้นพวกเขาก็พบว่า หลังจากนั้น Project เหล่านั้นก็ถูกสนับสนุนต่อไปเรื่อยๆในระดับที่มีแตกต่างกับ Project ที่ไม่ได้รับการสนับสนุน (จากการเลือกแบบสุ่มๆ คุณสามารถตัดเรื่องคุณภาพของ Project ทิ้งได้เลย) จากนั้นทีมผู้เขียนก็ไปศึกษาระบบให้คะแนนของ Amazon ต่อก็พบว่า หนังสือที่ได้รับคำวิจารณ์ดีๆ จะกลายเป็นจุดสนใจและขายได้ดีกว่า ซึ่งมันก็ตรงกับความรู้สึกทั่วๆไปนะ แต่ถ้าคำชมคำวิจารณ์ คะแนนนั้นไม่ได้มาจากคุณภาพจริงๆ แต่เป็นการมาจาก “หน้าม้า” หรือ การทำเพื่อหวังผลล่ะ หนังสือบางเล่ม สินค้าบางอย่างอาจไม่ได้ดีไปกว่ามาตรฐาน แต่แค่จ้างคนมากดไลค์ กดวิจารณ์ดีๆ ก็กลายเป็นได้รับความสำเร็จละ ทั้งหมดนี้คือ “ความสำเร็จที่ผ่านมา” ยิ่งสำเร็จที่ผ่านมายิ่งเยอะยิ่งทำให้สำเร็จต่อไปได้เยอะ

ส่วนความเหมาะสมก็ไม่มีอะไรมากไปกว่าคุณภาพของเนื้องานครับ ว่าง่ายๆถ้าคุณภาพงานของคุณดีจริง มันต้องมีสักคนที่พบและวิจารณ์มัน ไม่นานมันก็จะไปเข้ากับกฏแรก ตัวอย่างนี้มีกับหนังสือยอดฮิตที่ใครก็รู้จักคือ แฮรี่ พอร์ตเตอร์ ครับ คือตอนที่เขาพิมพ์ครั้งแรกและขายได้เนี่ย ส่วนใหญ่ถูกขายแล้วส่งให้ฟรีๆให้กับห้องสมุดต่างๆ และใช้เวลาอีกนับปีกว่าจะมีคนรู้จักนั่นคือความเหมาะสม

ตรงกฏข้อนี้ผมเห็นด้วยเรื่องความเหมาะสมนะ แต่ในทางปฏิบัติแล้วผมเห็นวงดนตรีดีๆหลายวงที่มีความเหมาะสมสูงมาก แต่กลับไม่มีคนรู้จัก ไม่มีคนสนใจ เพราะไม่มีใครให้ดาวหรือไม่มีหน้าม้าไปกดไลค์ คำถามคือถ้าอยากให้สำเร็จเราต้องใช้วิธีสกปรกเช่นหน้าม้าจริงๆรหรือ แต่มันก็เป็นที่ยอมรับในสังคมล่ะนะ เพราะมีคนทำมันเยอะแยะแล้ว คำถามคือเมื่อคุณอ่านถึงบรรทัดนี้แล้วคุณจะยังทำเหมือนเดิมไหม

กฏข้อที่ 4 : ความสำเร็จของทีมมาจากความหลากหลายที่สมดุล แต่มีเพียงคนเดียวที่จะได้เครดิตว่าเป็นผู้สร้างความสำเร็จ

“ความสำเร็จของทีมมาจากความหลากหลายที่สมดุล” อันนี้ทางทีมผู้เขียนทำการศึกษาการทำอัลบั้ม Kind of blue ซึ่งได้รับความนิยมข้ามกาลเวลา ซึ่งอัลบั้มนี้ไม่ได้เล่นคนเดียวครับ แต่เล่นกันหลายคน คำถามเวลาทำงานเป็นทีมคำถามหนึ่งที่ยอดนิยมคือถ้าเราเอาคนเทพๆมาทำงานร่วมกันงานจะออกมาสุดยอดไหม ซึ่งผลจากการทดลองส่วนใหญ่ก็คือ ไม่ได้สำเร็จอะไรมากมายไม่แน่อาจจะบรรลัยด้วยซ้ำ ตัวอย่างพวกทีม All star ที่มาเล่นด้วยกันแล้วผลงานแย่กว่าเล่นกับทีม จากการตรวจสอบดูพบว่าในอัลบั้ม Kind of blue นั้นประกอบด้วยคนหลากหลายแบบ มีทั้งคนที่มีความสัมพันธ์สนิทกัน จนคนที่เหินห่างกันจัดๆ คนที่ไม่เคยเล่นดนตรีด้วยกันเลย กับคนที่เคยเล่นด้วยกันบ้าง จนถึงเล่นด้วยกันบ่อยๆ คนที่ด้นสดโคตรๆ กับคนที่รักษาโครงสร้างของเพลง ทุกอย่างมันลงตัวเพราะมีทั้งความเข้าขากัน และความไม่เกรงใจ กล่าวคือ การเล่นเข้าขาเป็นเรื่องดี แต่ถ้าเข้าขากันมากก็จะเกิดความเกรงใจ บางส่วนบางตอนอาจแย่แต่ด้วยความเกรงใจอาจเลยตามเลย ถ้าคนไม่สนิทที่อยู่ในทีมคนคนนั้นก็จะเบรคคนในทีมอธิบายสิ่งเหล่านั้นให้ฟังได้ ทีมผู้วิจัยทำการตรวจสอบทฤษฎีนี้ต่อโดยไปดูโครงการต่างๆบน Github ซึ่งพบว่าโครงการที่สำเร็จส่วนใหญ่นั้นประกอบไปด้วยคนหลากหลายรูปแบบ จากหลากหลายสายงาน แต่สิ่งหนึ่งที่เขาพบคือ คนที่เขียน Code นั้นกลับเป็นคนคนเดิมที่เขียน คนอื่นที่มาร่วมในทีมส่วนใหญ่จะเป็นที่ปรึกษา และเปิดมุมมองใหม่ให้ทีมเสียมากกว่า เรื่องนี้ทีมผู้เขียนอธิบายว่าการทำงานเป็นทีมส่วนใหญ่นั้นแต่ละคนจะมีหน้าที่ของตัวเอง เราไม่ต้องการการทำหน้าที่ทับซ้อนกัน แต่เราต้องการคนคอยให้คำปรึกษาและข้อเสนอแนะจากมุมมองที่ต่างกันมากกว่า เช่นเดียวกับความสนิทสนม ทีมต้องการทั้งคนที่สนิทเพื่อให้ทำงานได้อย่างราบรื่น และคนที่ไม่สนิทเพื่อให้คอยเตือนทีมได้อย่างไม่มีความเกรงใจ

“แต่มีเพียงคนเดียวที่จะได้เครดิตว่าเป็นผู้สร้างความสำเร็จ” ก็ตามประโยคข้างหน้าครับ งานบนโลกนี้คนส่วนใหญ่มักให้เครดิตคนคนเดียว ลองไปดูนักร้องดังเล่นในงานครับ คนส่วนใหญ่ไม่ได้สนใจเหล่า Backup เลย เขาสนแต่นักร้องนำ นักร้องนำดีๆหลายคนพยายามแก้ปัญหานี้โดยพยายามแนะนำแต่ละคนในวง Backup ให้คนที่มาฟังรู้จัก ที่ผมเห็นบ่อยคือ น้อง “อิงค์ วรันธร” ที่จะแนะนำวงคนในวง ฺBackup เสมอ แต่ถ้าถามคนดูอย่างพวกเราล่ะเคยสนใจไหม ไม่พวกเราไม่เคยสนใจ เราสนใจแค่เราไปฟังน้องอิงค์ เช่นกันกับการไปดูละคร เราไม่เคยสนใจว่า Marketing ช่างแต่งหน้า คนออกแบบ ต่างๆนาๆในหนังสือใคร เราสนแค่ว่าใครกำกับ เป็น “เต๋อ นวพล” หรือ “ไทกา ไวทีที” อันนี้วงการบันเทิงอาจจะบอกว่าเป็นแบบนี้เพราะเป็นวัฒนธรรมอะนะ เราลองมาวงการเทคโนโลยีกันบ้าง อย่าง จ็อบ คนเทิดทูนบูชาเขาเป็นอย่างมาก แต่มีคนสนใจเหล่านักวิศวกรที่พยายาม Optimize เครื่องให้อยู่ในรูปแบบนั้นไหม มีใครสนใจนักออกแบบที่ขัดเกลาวิสัยทัศน์ของ จ็อบ ให้ออกมาเป็นของจริง ซึ่งก็แน่ว่าไม่มีใครนึกถึงเลย

วงการวิทยาศาสตร์งานวิจัย ในงานวิจัยปัจจุบันนั้นเป็นการทำงานเป็นทีมมากกว่าคนเดียวแล้ว คำถามคือทำไมรางวัลโนเบลถึงให้กับบางคน ไม่ให้กับทั้งทีม จริงๆมันมีข้อบังคับว่าให้ได้แค่สามคน คำถามถัดไปคือ 3 คนนั้นคือใคร คำถามนี้ได้รับการสรุปจากงานวิจัยของทีมผู้เขียนว่า มันมาจากว่า ในเรื่องที่เขาจะให้รางวัลวิจัยนั้น ใครเป็นคนที่เป็นที่ “รู้จัก” มากที่สุด ใช่ครับ ใช้คำว่ารู้จักมากที่สุดเลยครับ หนังสือยกเคสนึงที่ผมอ่านแล้วอยากจะร้องไห้ นั่นคือนักวิจัยท่านนึงทำการวิจัยเกี่ยวกับเรื่องการใช้เซลล์ของแมงกระพรุนในการทำบางอย่างในการทดลองวิทยาศาสตร์ ซึ่งเขาเป็นคนแรกที่ทำและนำมันไปประยุกต์ใช้ได้จริง แต่ในเวลานั้นไม่มีคนสนับสนุนทุนวิจัย สุดท้ายเขาก็หยุดงานวิจัยเรื่องนั้นและหยุดมาทำงานตามปกติมนุษย์เพื่อจะให้เวลากับครอบครัว แต่สิ่งที่ประเสริฐของนักวิจัยท่านนี้คือเขาส่งต่อผลลงานวิจัยของเขาซึ่งเขาทำมาทั้งหมดให้กับนักวิจัยท่านอื่นที่ศึกษาในงานวิจัยใกล้เคียงนั้นแบบฟรีๆ เพื่อมวลมนุษย์ หลังจากนั้น 17 ปี นักวิจัยที่ได้รับงานวิจัยต่อจากนักวิจัยท่านนั้นได้รับรางวัลโนเบล แต่นักวิจัยท่านนั้นเป็นแค่คนขับรถส่งของธรรมดา ไม่มีใครตามไปดูว่าต้นกำเนิดงานวิจัยมาจากนักวิจัยท่านนี้ที่ทุ่มเทแรงกายแรงใจ แถมไม่หวงความรู้อีกต่างหาก ในส่วนนี้ผมไม่ได้บอกนะว่าคนที่เอางานวิจัยไปต่อยอดไม่สมควรได้รางวัลโนเบล แต่อย่างน้อยทั้งโลกก็ควรให้เครดิตแก่นักวิจัยท่านที่ตอนนี้กลายเป็นคนส่งของ ควรยกย่องเขาบ้างสิ จริงไหม

จากทั้งหมดเราได้ข้อสรุปง่ายๆว่า ในการสร้างชื่อเสียงเบื้องต้นเราควรทำงานกับคนดัง แต่พอเริ่มมีชื่อเสียงนิดหน่อยๆแล้ว คุณควรออกจากไปงานที่แตกต่างที่ไม่มีเจ้าครองตลาดอยู่ เช่น ถ้าคุณทำวิจัยเรื่องนึงอยู่แล้วมีคนที่ดังคับฟ้าคับแผ่นดินอยู่ คุณควรจะออกจากเงาของเขาไปทำอะไรแตกต่างจากเขา เพื่อให้คุณกลายเป็นที่สนใจใหม่ได้ง่าย เพราะอย่างลืม “มีเพียงคนเดียวที่จะได้เครดิตว่าเป็นผู้สร้างความสำเร็จ” ส่วนคนที่อ่านแล้วหดหู่อย่างผมเวลาจะให้เครดิตใคร ผมคงจะต้องให้เครดิตเป็นทีม มากกว่าคนหนึ่งคน จะเห็นได้ว่าผมใช้คำว่า “ทีมผู้เขียน” ไม่ใช่ผู้เขียน

กฏข้อที่ 5 : ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่นั่น

กฏข้อนี้ก็ตามนั้นครับ “ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่นั่น” แต่มันเหมือนคำพูดนี้มันจะไม่จริงเพราะอัจฉริยะมากมายมักบอกว่า ความสำเร็จของเขามักมาจากตอนหนุ่ม ถ้าเลย 30 ไปแล้ว แล้วยังไม่ประสบความสำเร็จก็บอกลาการประสบไปได้เลย ซึ่งส่วนใหญ่เราพบมักจะจริงครับ แต่ทีมผู้เขียนได้ลองศึกษาก็พบว่ามันอาจจะไม่จริง เพราะเขาดูสัดส่วนแล้วก่อนอายุ 30 นั้นพวกนักวิจัยหรือพวกอัจฉริยะต่างๆผลิตผลงานออกมาเยอะที่สุด แต่พอหลัง 30 ไปแล้วพวกเขาผลิตผลงานน้อยลง นั่นเป็นแปลว่าพองานน้อยโอกาสที่จะประสบความสำเร็จก็น้อยลงตาม หนังสือให้กฏเรื่องความพยายามเป็นค่า ความสำเร็จ = Q x r โดย Q คือความสามารถของคุณในงานงานนั้น ส่วน r คือ คุณค่าของไอเดียนั้น

Q คือความสามารถของคุณในงานนั้นเช่น ความสามารถในการเขียนโปรแกรม ความสามารถในการเล่นดนตรี ความสามารถในการเจรจาต่อรอง ยิ่งคุณมีค่าพวกนี้สูงเท่าไหร่ ก็มีโอกาสที่งานชิ้นนั้นจะสำเร็จได้ จากการศึกของทีมผู้เขียนพบว่าค่า Q นั้นเพิ่มได้อย่างจำกัด ดังนั้นเมื่อคุณลองทำงานนั้นแล้วมันไม่ใช่ เช่น วาดรูปยังไงก็ไม่สวย เขียนโปรแกรมยังไงก็ไม่เข้าใจ ก็แนะนำให้ลองไปทำอย่างอื่นครับ เผื่อว่ามันจะดีกว่า

r คือคุณค่าของไอเดียนั้น ไอเดียนั้นอาจมีคุณค่ามากเท่าไหร่ ไอเดียมีได้มากมายและส่วนใหญ่เราไม่รู้ว่ามันมีคุณค่าเท่าไหร่ จะรู้ก็ต่อเมื่อออกไปแล้ว เช่น คุณค่าของไอโฟน กับ เครื่องลิซ่า ที่คุณค่าของไอเดียนั้นห่างกันราวฟ้ากับเหว

จากสองค่าจะเห็นว่าค่า Q นั้นเหมือนจะเพิ่มขึ้นแล้วกลายเป็นค่าคงที่ดังนั้นถ้าคุณเก่งจริงค่านี้จะมีค่าสูง คราวนี้สิ่งที่จะทำให้งานนั้นประสบความสำเร็จอย่างสูงคือค่า r ครับ ซึ่งค่า r เราไม่รู้ว่ามันคือเท่าไหร่ วิธีที่หนังสือกำลังบอกคือ คุณก็ทำไปเรื่อยๆจนกว่าจะเจองานที่ค่า r มันสูง ถ้าค่า r มันสูงเมื่อไหร่ เมื่อนั้นแหละคุณก็ประสบความสำเร็จ

อ่านแล้วได้อะไร

สำหรับหนังสือเล่มนี้อ่านแล้วทำให้รู้ว่าถ้าเราอยากเป็นที่รู้จักนั้นจะต้องทำอย่างไรบ้าง ตั้งแต่ต้องทำความเข้าใจว่าความสำเร็จเป็นเรื่องของเรา เป็นเรื่องของการรับรู้ของฝูงชน ดังนั้นถ้าอยากมีความสำเร็จเป็นที่รู้จักก็ต้องเผยแพร่ผลงาน คราวนี้ก็ไล่ไปตามข้อต่างๆเลย ตั้งแต่เพิ่มความสามารถของตัวเองให้งานออกมาดี สิ่งต่อไปคือถ้างานมันวัดผลได้ งานมันจะดังเอง แต่ถ้าวัดผลง่ายๆไม่ได้ก็ต้องใช้เครือข่าย ดังนั้นเวลาจะทำอะไรเราก็ต้องดูว่าเราจะเอาผลงานของเราเข้าเครือข่ายนั้นได้อย่างไร ต่อไปก็เป็นเรื่องการเริ่มต้นความประสบความสำเร็จนั้นจะต้องใช้ความสำเร็จที่มีมาก่อน ดังนั้นเราต้องสร้างความสำเร็จเบื้องต้นเพื่อดึงคนเข้ามาไม่ว่าจะเป็นการหาคนมากดไลค์ หรือทำให้งานของตัวเองเป็นจุดสนใจ เมื่องานเราอยู่ในกระแสเป็นที่รู้จักแล้วอะไรก็จะง่ายขึ้น เรื่องเครดิตก็สำคัญคนส่วนใหญ่สนใจคนที่รู้จัก การเริ่มต้นควรเริ่มทำงานกับคนมีชื่อเสียง พอเริ่มมีชื่อเสียงแล้วควรจะแยกออกไปทำงานที่ไม่มีใครโด่งดังอยู่ หรือทำงานของตัวเอง สุดท้ายคือการดูว่าเรามีความสามารถในงานที่เราทำแค่ไหน ถ้ามีเยอะก็ทำต่อแต่ถ้าดูแล้วเราไม่มีความสามารถด้านนั้นเลยก็ควรเปลี่ยนสายงานไปหางานที่ตนทำแล้วดี เมื่อคุณมีความสามารถในงานของคุณแล้วก็หมั่นผลิตผลงานดีๆนั้นออกมาเรื่อยๆ ผสมกับการใช้กฏข้ออื่นๆ สุดท้ายคุณก็น่าจะประสบความสำเร็จ

ข้างบนที่ผมกล่าวมาคงจะเป็นสิ่งที่คนอ่านแล้วได้ประโยชน์จากมันเป็นด้านดีๆที่ได้จากหนังสือเล่มนี้ แต่สำหรับผมผมได้เห็นความน่าหดหู่ของเหล่าคนแบบเราๆ ไม่ว่าจะเป็นการหลงไปกับคำวิจารณ์ ให้ค่าคำวิจารณ์มากกว่าไปดู ไปสัมผัสสินค้า หรือลองอ่านหนังสือจริงๆ ซึ่งนั่นก็ไม่ผิดหรอกครับ เพราะเงินมันต้องเสียอย่างน้อยก็ต้องหาคำวิจารณ์มาอ่านประกอบการตัดสินใจ ความหดหู่เรื่องการตัดสินของกรรมการที่ทำให้คนคนหนึ่งประสบความสำเร็จ แต่อีกคนไม่ทั้งๆที่ฝีมือพอๆกัน ความน่าหดหู่ของการใช้เครือข่ายศิลปะ การให้เครดิตผลงานกับคนคนเดียวแทนที่จะเป็นทั้งทีม คนที่สำเร็จยิ่งมีคนสนใจและทุ่มความสนใจไปที่นั่นหมด เหมือนที่ผมบอกว่าศิลปินวงเล็กๆมากมายแต่คนไม่เหลียวแลไปฟัง ฟังแต่วงใหญ่ๆ แล้วมันก็น่าตลกตรงที่ไอคนกลุ่มนี้แหละที่ชอบออกมาบ่นเรื่องความไม่เท่าเทียม กินรวบ ไม่สนใจตัวเล็กตัวน้อย

ผมก็ไม่รู้เหมือนกันว่าเห็นกลไกอันน่าหดหู่ในการไปสู่ความสำเร็จของมนุษย์แล้วเราควรจะทำยังไง ถ้าได้จัดงานแข่งขันผมคงไม่หาที่ 1 2 3 แต่คงคัดเฉพาะคนเก่งแล้วให้ชนะร่วมไปเลยรึเปล่า ผมควรจะไปหาหนังสือที่ไม่ดัง มารีวิวบ้างดีรึเปล่า เวลาให้เครดิตควรให้เครดิตเป็นทีมมากกว่าคน ก็ถ้าใครอ่านมาถึงตรงนี้ก็ฝากช่วยคิดละกันครับว่าเราควรจะทำอย่างไรกับเรื่องน่าหดหู่นี้ดี

นาร์ซิสซัสกับโกลด์มุนด์ - Narcissus and goldmund

นาร์ซิสซัสกับโกลด์มุนด์ - Narcissus and goldmund

นาร์ซิสซัสกับโกลด์มุนด์ - Narcissus and goldmund

หลังจากได้อ่านเรื่อง “สิทธารถะ” แล้วรู้สึกประทับใจอย่างมากเลยจดชื่อผู้เขียนซึ่งก็คือ “Hesse, Hermann” แล้วไป Search ต่อดูว่ามีหนังสือเล่มไหนที่เขาแต่งอีกบ้าง ซึ่งก็ได้เจอกับเรื่อง “นาร์ซิสซัสกับโกลด์มุนด์” ที่ยังไม่มีคนยืม ซึ่งพอมาเห็นขนาดของหนังสือแล้วหนากว่าสิทธารถะเกือบ 2 เท่า ก็เล่นเอาหวั่นใจเหมือนกันว่าจะอ่านจบไหม แต่พอได้เริ่มอ่านก็รู้สึกสนุกหยุดไม่อยู่อยากจะรู้ความเป็นไปของตัวละครว่าสรุปสุดท้ายชีวิตเขาจะเป็นอย่างไร

ชายสองคนที่แตกต่าง

นาร์ซิสซัส ชายหนุ่มผู้คงแก่เรียนแม้อายุยังน้อยแต่มีความรู้เทียบเท่ากับนักบวชชั้นสูงที่มีอายุมากกว่านาร์ซิสซัสมุ่งมั่นในทางธรรม ต้องการจะรับใช้พระเจ้า เดินตามทางของพระเจ้าที่บริสุทธ์ ส่วน โกลด์มุนด์ เด็กหนุ่มที่ถูกพ่อส่งมาเรียนที่วัดเพื่อหวังให้เป็นบวชเป็นพระรับเจ้าพระผู้เป็นเจ้า โกลด์มุนด์เป็นหนุ่มรูปงาม ประมาณว่าหญิงเห็นแล้วต้องมอง ถ้าเทียบความหล่อสมัยนี้ก็คงหนุ่มเกาหลีที่สาวไทยเห็นแล้วกรี๊ดนั่นแหละ นอกจากรูปงามแล้วโกลด์มุนด์ยังเป็นคนอัธยาศัยดีเข้ากับคนง่าย ดังนั้นเขาจึงเป็นที่รักใคร่ของทั้งเหล่านักบวชและเพื่อนที่เรียนร่วมกัน แตกต่างจากนาร์ซิสซัสที่เป็นคนเงียบขรึม พูดคุยกับคนเท่าที่จำเป็น จึงทำให้สองคนนี้มีความแตกต่างกันเป็นอย่างมาก แต่ความแตกต่างนี้กลับดึงดูดกันและกัน นาร์ซิสซัสมองเห็นความผิดปกติบางอย่างเกี่ยวกับโกลด์มุนด์ เขามองเห็นว่าโกลด์มุนด์นั้นไม่เหมาะกับการที่จะเป็นนักบวช แต่การที่มาอยู่ที่นี่นั้นเป็นเพราะถูกพ่อปลูกฝังให้อยากเป็นนักบวช เขาจึงพยายามเฝ้ามองและชี้นำให้โกลด์มุนด์เลือกทางที่ตัวเองควรเป็น ส่วนโกลด์มุนด์หลงใหลในความเก่งของนาร์ซิสซัส อยากเก่ง อยากรับใช้พระเจ้าแบบนาร์ซิสซัส ด้วยเหตุนี้ทั้งสองคนผู้มีความแตกต่างจึงเริ่มสนิทกัน

นิยายเกย์ปะวะ

เอาจริงๆผมอ่านช่วงบทแรกๆนี่โคตรหวั่นเลยนะว่าจะกลายเป็นนิยายเกย์ (ผมไม่ได้บอกว่านิยายเกย์ไม่ดี แต่ผมไม่ได้คาดหวังอ่านแนวนี้จากหนังสือเล่มนี้) แต่มันเป็นอะไรที่หักจากที่คิดไปเยอะมาก เล่นเอาซะแบบนิยายรักแนว Playboy หนุ่มเจ้าสำราญนี่กระจอกไปเลย ถ้าอยากรู้ว่าทำไมลองไปหาอ่านดูครับ คุณจะรู้ถึงความสุดในการดำเนินชีวิตของคนคนนึง เป็นชีวิตสุดขั้วที่ผมคิดว่าน่าจะลองใช้บ้าง

การใช้ชีวิตไม่ได้มีแค่เส้นทางเดียว

ในเรื่องนี้พยายามบอกเราว่าการใช้ชีวิตนั้นไม่ได้มีแค่เส้นทางเดียว ผ่านการที่นาร์ซิสซัสพยายามชี้ให้โกลด์มุนด์เห็นว่าเขาไม่เหมาะกับการเป็นนักบวชและควรไปใช้ชีวิตแบบที่เขาควรจะเป็น ซึ่งเป็นการบอกผู้อ่านเป็นนัยๆว่า เฮ้ นาย ชีวิตนายไม่จำเป็นต้องเดินตามทางที่คนในสังคมบอกว่าดีนะ เช่น การบวชเป็นนักบวช เป็นหมอ เป็นทนาย เป็นแพทย์ นายควรเดินหาทางนั้นด้วยตัวเอง ทางที่นายคิดว่าดีที่เหมาะสมกับตัวนายเอง

ทุกการใช้ชีวิตมีข้อดีข้อเสีย

หนังสือไม่ได้สรรเสริญเยินยอการใช้ชีวิตแบบนักบวช ดูได้จากการเล่าเรื่องที่ชื่อหนังสือจะชื่อว่า นาร์ซิสซัสกับโกลด์มุนด์ เหมือนเรื่องจะเน้นหนักไปที่นาร์ซิสซัสที่ชื่อขึ้นก่อน แต่กลายเป็นหนังสือเล่าเรื่องของโกลด์มุนด์เยอะมาก เยอะจนแบบคนที่ชอบนาร์ซิสซัสอย่างนี่รอจนเหงือกแห้งเลยกว่าจะโผล่ออกมา หนังสือเล่าการใช้ชีวิตของโกลด์มุนด์ว่าต้องเจอกับอะไร บางเรื่องเป็นเรื่องโคตรน่าอิจฉา แต่บางเรื่องก็น่าเวทนา ทุกอย่างมีได้มีเสีย สิ่งที่เสียทดแทนสิ่งที่ได้ ทั้งสองมุมทำให้ทุกอย่างสมดุล เป็นการบอกเราว่าคุณเลือกจะใช้ชีวิตแบบไหน คุณก็ต้องเตรียมรับสิ่งที่คุณไม่ชอบที่มาจากการใช้ชีวิตแบบนั้นด้วย

อ่านแล้วได้อะไร

สำหรับเล่มนี้อ่านแล้วทำให้เราเห็นว่าเราควรใช้ชีวิตตามทางที่เหมาะสมกับตัวเรา เราควรศึกษาตัวเองว่าเราเป็นคนแบบไหน ซึ่งการศึกษาตัวเองอาจจะเป็นการลองใช้ชีวิตเพื่อดูว่าใช่ไหม เราชอบไหม สนุกไหม กับการใช้ชีวิตแบบนั้น แต่หนังสือก็เตือนเหมือนกันว่าการใช้ชีวิตในรูปแบบนั้นอาจพบพากับเรื่องที่คุณอาจจะไม่ชอบ นำพาปัญหา ความเจ็บปวด ทั้งทางกายและทางใจมาให้กับเราเช่นกัน ดังนั้นเมื่อเลือกแล้วควรจะเตรียมพร้อมรับทั้งสุขและทุกข์ เรียนรู้ว่าการจะใช้ชีวิตแบบนั้นต้องทำอะไรบ้าง จริงๆมันมีเรื่องที่น่าเล่ามากมาย มุมมองของโกลด์มุนด์ที่อยากจะเล่าให้ฟัง ไม่ว่าจะเป็น ผู้หญิงนั้นรักเขาแต่ทำไมต้องกลับไปหาผู้ชายที่ทุบตีเธอ ความสุขของการลงหลักปักฐานกับการพเนจรที่แตกต่างกัน การรักใครสักคนโดยไม่หวังผลตอบแทนและหวังผลตอบแทน ความหวังและความสิ้นหวัง การยอมตายเพื่อบูชาศักดิ์ศรีนั้นมีค่าอะไร ทำไมถึงต้องทำ บางครั้งชีวิตก็มีค่ามากพอที่จะฆ่าคนอื่นเพื่อให้ได้มีชีวิตอยู่ แต่บางครั้งมันกลับไม่มีค่าจนไม่ยอมจะมีชีวิตอยู่ต่อ ทั้งที่ชีวิตนั้นคือชีวิตเดียวกัน แค่ต่างเวลาต่างประสบการณ์ มันมีเรื่องน่าสนใจที่คุยกันได้สนุกมาก แต่ถ้าเล่าแล้วเนี่ยมันจะสปอยเนื้อเรื่องและทำให้พอคุณไปหามาอ่านแล้วความสนุกมันจะลดลง ดังนั้นไปหามาอ่านกันเถอะครับ ผมเชื่อว่าการอ่านแล้วน่าจะให้อะไรกับคุณเยอะอยู่เหมือนกัน ส่วนข้อเสียของหนังสือเล่มนี้คือเขาบรรยายเรื่องสภาพแวดล้อมและอารมณ์เยอะมาก ถ้าคนเป็นคนพวกที่ชอบอ่านแล้วคิดตามให้เห็นภาพน่าจะชอบ แต่ผมเป็นพวกอ่านแล้วเอาเนื้อเรื่อง เอาความสนุกจากบทสนทนาและการหักกันด้วยความคิด พอมาเจอแบบนี้แล้วทำให้อ่านบางส่วนแล้วรู้สึกโคตรน่าเบื่อเลยทีเดียว

Mook - Wisdom

ทำไมน้องคนนี้หน้าคุ้นจัง

ทำไมน้องคนนี้หน้าคุ้นจัง เป็นความคิดแรกที่ได้เห็นหน้าน้องคนนี้ ซึ่งคิดยังไงก็คิดไม่ออกว่าไปเห็นที่ไหน ไอดอลเก่ารึเปล่า หรือเคยเป็นรุ่นน้อง หรือเคยแสดงละครที่ไหนรึเปล่า ก็เลยเป็นที่มาของการไปเชกิครั้งกับน้องเขา ซึ่งก็ถามน้องเขาไปว่า เคยทำอะไรแบบนี้รึเปล่าซึ่งน้องก็ตอบว่า “ไม่เคยเลย” เคยแต่เป็นพิธีกรแต่พี่ไม่น่าเคยได้ดูหรอก

จริงๆเรื่องมันควรจบแค่ถ่ายรูปกับน้องเขาแล้วได้คำตอบแล้ว และน้องเองก็ไม่ใช่สายที่ชอบซะด้วย (แนวที่ชอบคือสาวแว่น) แต่พอได้เจอความน่ารัก คุยเก่ง ด้วยแล้วก็เลยคิดว่ารอบหน้าลองทำความรู้จักเพิ่มอีกดีกว่า

ยิ่งตามยิ่งเจอความน่ารัก

น้องมุกเป็นผู้หญิงที่น่ารัก ตลก แถมชวนคุยเก่ง ตอนแรกดูเหมือนโก๊ะๆ เป็นผู้หญิงที่ไม่คิดอะไรมาก แต่พอได้ทำความรู้จักจะเห็นว่าน้องมุกเป็นผู้หญิงที่มีเหตุผลมากๆ เป็นความแปลกที่หายากในผู้หญิงทุกคนที่เคยรู้จักมา เพราะปกติเจอคนที่มีเหตุผลมากๆก็จะเป็นผู้หญิงเงียบๆไม่ค่อยคุยสักเท่าไหร่

พอได้ติดตามไม่ว่าจะเป็นไปเชกิ ดูไลฟ์ วิดีโอคอล ก็ยิ่งชอบความเป็นตัวเองของน้องมุก เดี๋ยวน่ารัก เดี๋ยวมีเหตุผล ดูเป็นผู้ใหญ่และเด็กในเวลาเดียวกัน ได้เห็นความสดใสความน่ารักในการใช้ชีวิตของน้องเขาก็ถือเป็นพลังบวกที่เข้ามาในชีวิตคนที่ปล่อยพลังงานลบตลอดเวลา

เวลาการเป็นไอดอลมันสั้น

เพื่อนผมคนนึงที่อยู่ในวงการไอดอลมานาน (ตามทั้งไทย ทั้งญี่ปุ่น) พูดเสมอว่า เวลาการเป็นไอดอลมันสั้น อยากทำอะไร อยากเจอเขา อยากให้ของขวัญเขาก็ทำซะ ซึ่งก็จริงอย่างเพื่อนว่าเพราะไอดอลที่ผมตามเนี่ยอยู่ประมาณ 1 ปี กับน้องมุกก็เช่นกัน จริงๆก็เสียดายเพราะยังอยากจะทำความรู้จักกับน้องเขามากกว่านี้ ก็เลยนึกถึงเรื่องที่ตัวเองอยากทำ เออให้ของขวัญลาน้องเขาหน่อยดีกว่า แต่จะซื้อตุ๊กตาก็ไม่ค่อยอยากซื้อเท่าไหร่ เพราะคนน่าจะซื้อให้เยอะแล้ว เลยลองมานึกดูว่าชอบอะไรบ้าง เลยนึกได้ว่าน้องเคยเล่าว่าชอบอ่านหนังสือที่ร้านหนังสือ ก็เลยตัดสินใจเป็นให้หนังสือดีกว่า คราวนี้คำถามถัดไปคือหนังสืออะไรดีล่ะ พอมานึกดูน้องเคยเล่าต่อว่าเคยอ่านเจ้าชายน้อย ซึ่งเจ้าชายน้อยคือหนังสือปรัชญา ถ้าพูดถึงหนังสือปรัชญาที่เราอ่านแล้วชอบที่สุดก็น่าจะเป็นเรื่อง “สิทธารถะ” ซึ่งเป็นหนังสือที่มอบมุมมองที่แตกต่างที่หนังสือส่วนใหญ่ไม่ค่อยพูดถึงกัน พอได้หนังสือคราวนี้ก็คิดต่อว่าจะให้อะไรอีกดี พอมองไปที่กองของขวัญที่เตรียมไว้ใช้ในอนาคต (ปกติผมชอบซื้อของที่ตัวเองเห็นแล้วชอบมาเก็บไว้ เผื่อได้ใช้เป็นของขวัญให้ใครสักคน) แล้วเห็นที่คั่นหนังสือที่ซื้อมาจากจีน โอเคได้ของขวัญอีกชิ้นละ สุดท้ายจะเอาไปให้เลยมันก็ดูแปลกที่ไม่ห่ออะไรเลย แต่ถ้าจะห่อแบบธรรมดาโดยให้คนอื่นห่อให้มันก็ไม่ใช่ตัวผม ปกติผมจะให้ของใครผมจะพยายามทำมันด้วยตัวเอง เป็นอีโก้บ้าๆที่คิดว่าถ้าเราพยายามทำอะไรสักอย่างด้วยความตั้งใจแม้มันจะไม่สวย คนรับน่าจะสัมผัสได้ (ซึ่งไม่มีใครรู้หรอก) ก็เลยตัดสินใจห่อเองโดยใช้ผ้าแบบญี่ปุ่น เพราะผู้มันนุ่มนิ่มและยังให้ผ้ากับน้องด้วย เผื่อน้องจะเอาไปห่อต่อหรือเอาไปทำผ้าเช็ดหน้า

พอทำทั้งหมดแล้วก็รู้สึกว่ายังขาดอะไรไปซึ่งนั่นก็คือการ์ดอวยพร พอคิดว่าจะต้องเขียนด้วยมือแล้วความคิดที่โผล่ขึ้นมาคือ “ไม่น่ารอดว่ะ” ก็เลยเปลี่ยนไปเป็นทำเป็น Web ดีกว่า ก็เลยทำเว็บขึ้นมา Web นึงให้น้องเข้ามาอ่านแทนการ์ดอวยพร

วันงาน

วันงานวันนั้นก็ไปถ่ายเชกิกับน้องตามปกติ แล้วก็นั่งดู Last stage ที่น้องขึ้นแสดง ซึ่งวันนี้ได้อยู่ตรงกลางเด่นมาก วันนั้นน้องเต้นได้น่ารักมาก(มีเต้นผิดด้วย ฮ่าๆๆๆๆ) หลังจากแสดงเสร็จเราก็ไปเชกิกับน้องอีกรอบ

โปรแกรเมอร์ : รูปนี้น่าจะรูปสุดท้ายแล้วนะ

น้องมุก : ใช่น่าจะรูปสุดท้ายแล้ว

โปรแกรมเมอร์ : พี่คงไม่ได้เจอเราอีกแล้วสิ

น้องมุก : เศร้าเลย เก็บรูปไว้ดูนะคะ

โปรแกรมเมอร์ : พี่มีของจะให้

น้องมุก : โหอะไรอะ ห่อเองเลยเหรอ แกะเลยได้รึเปล่า

โปรแกรมเมอร์ : ใช่พี่ห่อเองแหละ อาจจะไม่สวยนะ ในนั้นมี QR Code อย่าลืม Scan นะ

น้องมุก : เดี๋ยวค่อยแกะ ไว้เดี๋ยวจะแสกนนะ

โปรแกรมเมอร์ : แล้วเจอกันใหม่ในโอกาสหน้านะ

จริงๆก็ไม่ควรประโยคทีว่า “แล้วเจอกันใหม่ในโอกาสหน้านะ” เพราะผมคิดว่าผมคงไม่มีโอกาสได้เจอน้องเขาอีกแล้วแหละ เพราะคนที่อยู่แต่บ้าน ที่ทำงาน และห้องสมุด (พึ่งเป็นสมาชิกได้ไม่นาน) คงไม่มีได้เจอกับน้องเขาแน่นอน

กลับสู่ความจริง

การไปงานไอดอลอะไรพวกนี้เหมือนการไปเที่ยว เป็นการไปพักผ่อน ไปคุยกับผู้หญิงที่ตัวเองชอบ แต่พอเวลาหมดก็เหมือนต้องกลับไปอยู่กับความจริง ต้องไปทำงานที่แสนน่าเบื่อ ไม่สนุกเหมือนเมื่อก่อน แถมรอบนี้ยังแย่กว่าเดิมตรงที่เราไม่สามารถเจอน้องเขาในรูปแบบนี้ได้อีกแล้ว จริงๆผมอยากจะเขียนมุมมองของผมต่อการมาทำอะไรแบบนี้เหมือนกัน แต่รอคนที่ตามเลิกเป็นไอดอลและผมเลิกทำอะไรแบบนี้แล้วค่อยมาเขียนสรุปทีเดียว ก็เลยรู้สึกเศร้าๆแบบแปลกๆ

อย่างน้อยก็อ่าน

วันต่อมาก็นึกขึ้นได้ว่า เฮ้ย ไอ QR ที่ให้ไปน้องจะ Scan เข้าไปได้หรือเปล่า ก็เลยตัดสินใจส่ง Link ไปให้น้องเขาทาง Inbox (กันดราม่า เวลาที่ส่งคือน้องจบออกจากวงแล้ว ผมเลยสามารถส่ง Message ไปคุยกับน้องได้ ไม่ผิดกฏนะครับ) ไม่นานน้องก็ตอบมาว่า “อ่านแล้ว ขอบคุณพี่มากๆเลยนะคะ” พอเห็นว่าน้องเขาไปอ่านแล้วก็รู้สึกดีใจที่น้องได้อ่าน อะไรที่เราอยากทำเราทำไปหมดแล้ว ในอนาคตถ้าผมมองกลับมาผมก็ไม่เสียดายอะไรแล้ว

101 กลวิธี ทำอย่างไรไม่ให้เสียเปรียบคน - รู้ทันคนเพื่อไม่ให้เสียเปรียบใคร ต่อรองอย่างไรไม่ให้เสียเปรียบคน

101 กลวิธี ทำอย่างไรไม่ให้เสียเปรียบคน - รู้ทันคนเพื่อไม่ให้เสียเปรียบใคร ต่อรองอย่างไรไม่ให้เสียเปรียบคน

101 กลวิธี ทำอย่างไรไม่ให้เสียเปรียบคน - รู้ทันคนเพื่อไม่ให้เสียเปรียบใคร ต่อรองอย่างไรไม่ให้เสียเปรียบคน

สิ่งหนึ่งที่ผมไม่ค่อยชอบคือ การต่อรอง เพราะการต่อรองมักยืดยาวและหลายครั้งเกี่ยวพันกับการคุยและเล่นแง่กัน มันจึงเป็นเรื่องหนึ่งในชีวิตที่ไม่ค่อยอยากไปยุ่งเท่าไหร่ แต่เมื่ออายุเพิ่มขึ้นหน้าที่ความรับผิดชอบต่างๆก็มากขึ้น ซึ่งการต่อรองก็น่าจะเป็นเรื่องหนึ่งที่ต้องเจอ ดังนั้นแทนที่จะปวดหัววันที่ต้องต่อรองสู้ศึกษาเกี่ยวกับการต่อรองไว้สักหน่อยดีกว่า แต่นั่นก็แค่ความคิดครับเพราะไม่รู้การต่อรองพวกนี้จะไปศึกษาจากไหน จนบังเอิญไป Search หาหนังสือโดยใช้ Keyword 101 (คือกะหาเรื่อง Basic มาอ่าน) ก็มาเจอหนังสือเล่มนี้ ซึ่งเปิดให้เห็นมุมมองและวิธีการรับมือในการต่อรอง

การต่อรองเพื่อผลประโยชน์

การต่อรองเกิดจากสองฝ่ายคือคุณและคู่ต่อรองนั้นพยายามหาข้อตกลงเรื่องใดเรื่องหนึ่งเพื่อให้ฝ่ายตนเองได้สิ่งที่ตัวเองต้องการ ซึ่งการต่อรองนั้นพบได้ในชีวิตของเรา ไม่ว่าจะเป็นการซื้อของที่ต้องต่อเวลาตั้งแต่ของเล็กๆเช่นเสื้อผ้าไปจนถึงซื้อบ้านซื้อรถที่อาจจะต้องต่อรองราคา ดอกเบี้ย ประกัน ค่าโอน บริการหลังการขายต่างๆนาๆ หรืออาจจะเป็นเรื่องงานที่ต้องติดกับลูกค้า ต่อรองเพิ่มลดจำนวนงานตามจำนวนเงินที่ลูกค้าจ่าย การต่อรองเงินเดือน เพิ่มวันหยุดวันพักร้อน

  • ได้ประโยชน์ฝ่ายเดียว

ผลลัพธ์การต่อรองแบบนี้จะมีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้ประโยชน์อีกฝ่ายจะเสียประโยชน์ คุณอาจจะเห็นว่าผลลัพธ์การต่อรองแบบนี้นั้นอาจจะเป็นเรื่องดี ซึ่งมันก็ดีจริงแหละครับ ถ้ามันเป็นการต่อรองเพียงครั้งเดียวแล้วเราจะไม่ต่อรองกับคู่ต่อรองคนนี้อีก แต่ถ้าคุณอาจจะต้องต่อรองกับเขาอีก หรืออยากให้เขามาใช้บริการ หรือสินค้ากับคุณอีก ผลลัพธ์แบบนี้อาจจะไม่ดีเท่าที่ควร นึกภาพว่าคุณไปต่อรองซื้อสินค้ากับบริษัท ถ้าฝั่งบริษัทเอาแต่ประโยชน์ของตัวเอง คุณก็ย่อมไม่พอใจและคุณอาจจะหาบริษัทอื่นเป็นตัวเลือกเพื่อซื้อสินค้าแทนบริษัทเดิม

  • ได้ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย

แบบนี้คือต่างฝ่ายต่างได้ประโยชน์แม้อาจได้ไม่มากอย่างที่ต้องการแต่อย่างน้อยทั้งสองฝ่ายก็ได้ประโยชน์ ผลลัพธ์การต่อรองแบบนี้คือผลลัพธ์ที่ดีที่สุด ซึ่งถามว่าทำไมดีกว่าแบบ ได้ประโยชน์ฝ่ายเดียว ก็เพราะแบบนี้มันดีทั้งในปัจจุบันและอนาคต ส่วนของปัจจุบันคือได้ประโยชน์ทั้งคู่ ส่วนในอนาคตคือคู่ต่อรองทั้งสองฝ่ายสามารถกลับมาต่อรองกันใหม่ได้ อีกทั้งคู่ต่อรองอาจแนะนำคนรู้จักมาทำการซื้อขายต่อรองกับคู่ต่อรอง

  • ไม่มีผลลัพธ์

แบบนี้คือทั้ง 2 ฝ่ายไม่สามารถตกลงกันได้ ซึ่งอาจมองว่าเป็นข้อเสียหรือข้อดีก็ได้ ถ้ามองแบบข้อเสียคือทั้งสองฝ่ายต่างเสียเวลาที่มาต่อรองกัน แต่ถ้ามองในแง่ดีคือทั้งคู่จะได้ไปหาคู่ต่อรองใหม่เพื่อให้ได้ประโยชน์อย่างที่ต้องการ อีกทั้งทั้งคู่ก็ยังเปิดโอกาสให้กลับมาเจรจาต่อรองกันได้อีก

ความต้องการที่ไม่ได้พูดออกมา

หนังสืออธิบายว่าคู่ต่อรองของเราจะมีความต้องการที่ไม่ได้พูดออกมาในทุกการเจรจาต่อรอง หนังสือยกตัวอย่างเช่น จริงๆลูกค้าไม่ได้ต้องการราคาที่ต่ำที่สุด แต่จริงๆลูกค้าต้องการประกัน บริการหลังการขาย หรือต้องการสร้างผลงานในการเจรจาต่อรองที่ดูฉลาดเป็นต้น ซึ่งพอผมอ่านผมก็สงสัยนะว่าทำไมคนที่มาเจรจาต่อรองถึงไม่ยอมพูด ถ้าเป็นผมไปซื้อคอมพิวเตอร์แล้วต้องการประกัน ผมก็จะพูดเลยว่ามีประกันไหม ถ้าไม่ขอเพิ่มจะแลกเปลี่ยนกับอะไรได้บ้าง ซึ่งจริงๆหนังสือก็มีการอธิบายไว้เหมือนกันว่าทำไม ซึ่งนั่นก็เพราะคู่เจรจาจะเก็บสิ่งนี้ไว้ในการต่อรอง หากรีบเผยความต้องการที่แท้จริงให้อีกฝ่ายทราบจะกลายเป็นเสียอำนาจการต่อรอง

องค์ประกอบสำคัญในการต่อรอง

หนังสือบอกองค์ประกอบของการต่อรองมี 3 อย่างคือ

  1. เวลา (ช่วงระยะเวลาในการต่อรอง)

หนังสืออธิบายว่าจากการศึกษาการเจรจาต่อรองจะเห็นว่าการเจรจาต่อรองส่วนใหญ่จะไปต่อรองกันได้ในช่วงท้ายๆก่อนเส้นตายในการเจรจาต่อรอง เพราะเมื่อถึงเส้นตายไม่ฝั่งใดก็ฝั่งหนึ่งหรือทั้ง 2 ฝ่ายจะต้องเจอผลลัพธ์ที่ไม่ดี เช่น ค่าปรับ ทำยอดไม่ถึง อีกทั้งเมื่อเริ่มการเจรจาที่ยาวนานแล้วคุณเหมือนเสียเวลากับการเจรจาต่อรองไปแล้ว ดังนั้นคุณย่อมไม่อยากให้การเจรจาต่อรองนี้ไม่สำเร็จ

  1. ข้อมูล

ข้อนี้อาจจะเป็นข้อที่เข้าใจง่ายเพราะใครยิ่งมีข้อมูลมากย่อมได้เปรียบในการเจรจาต่อรอง แต่ว่าคนมักเข้าใจผิดว่าข้อมูลค่อยไปหาตอนเริ่มเจรจาหรือเก็บกันตอนคุยกับคู่เจรจา จริงๆแล้วข้อมูลสามารถหาไปก่อนได้เลย ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลเกี่ยวกับสินค้า สถิติ ความต้องการของอีกฝ่าย ลักษณะนิสัยของอีกฝ่าย เพราะทุกข้อมูลเราสามารถวางแผนการต่อรองได้ เช่น ถ้าเรารู้ว่าเขาต้องการอะไร เราอาจใช้ความต้องการต่อรองกับข้อเสนอของเราอย่างสมน้ำสมเนื้อเป็นต้น

  1. อำนาจ

ตอนแรกอ่านถึงอำนาจแล้วผมตกใจเหมือนกันว่าอำนาจอะไรวะ แต่หนังสือบอกว่าคู่เจรจาต่างมีอำนาจ ยกตัวอย่างเช่น ผู้ซื้อมีอำนาจในการต่อรองเรื่องการสามารถซื้อของได้จากหลายๆที่ ดังนั้นผู้ซื้อจึงมีอำนาจการต่อรองในการใช้คู่แข่งเป็นการต่อรอง ส่วนผู้ขายนั้นก็ได้เปรียบเรื่องรู้ต้นทุนของสินค้านั้น รู้ราคากลาง ซึ่งทำให้ผู้ขายสามารถรู้ราคาสูงสุด ต่ำสุดที่สามารถต่อรองได้ ดังนั้นตอนต่อรองเขาย่อมรู้ว่าจุดไหนที่ยอมรับได้ หรือเอาบางอย่างมาต่อรองเรื่องราคาก็ได้เช่นกัน

กลวิธีในการต่อรอง

ในหนังสือแนะนำกลวิธีต่อรองให้เรารู้เพื่อใช้และรู้ว่ากำลังโดนใช้วิธีไหนอยู่ โดยหนังสือมีแนะนำไว้ถึง 101 วิธี โดยผมจะเอามาเล่าสัก 3 วิธี

  • พบกันครึ่งทาง

วิธีนี้ก็อาจเห็นพบได้ทั่วไปในการต่อรองราคา เช่น ผู้ขายอยากขาย 100 ผู้ซื้ออยากซื้อ 150 ไม่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอาจจะใช้วิธีพบกันครึ่งทางคือเหลือ 125 ได้หรือไม่ วิธีนี้อาจได้ประโยชน์ถ้า 125 คือราคาที่ทั้ง 2 ฝ่ายรับได้ แต่ก็ต้องระวังว่าถ้าอีกฝ่ายตกลงอย่างรวดเร็วอาจจะโดนต่ออีกได้เพราะในเมื่อเหลือ 125 ได้อย่างรวดเร็วแปลว่าราคาอาจจะต่อรองได้อีก

  • ยินยอมแบบมีเงื่อนไข

วิธีการนี้คือยอมรับข้อตกลงของอีกฝ่าย แต่เราก็มีเพิ่มเงื่อนไขให้กับอีกฝ่ายเช่นกัน ตัวอย่างเช่น ถ้าผู้ชายบอกจะขายคอมพิวเตอร์ให้ในราคา 20,000 บาท จากราคา 24,000 บาท ถ้าเราอยากได้ในราคา 18,000 บาท แต่เรารู้ว่าอีกฝ่ายลดให้เราไม่ได้อีกแล้ว เราอาจเงื่อนไขว่าได้แต่ต้องเพิ่มประกันต่อให้อีก 2 ปี (ที่มีราคา 2,000 พอดี) เท่านี้เราก็เหมือนได้คอมพิวเตอร์ราคา 18,000 แล้ว (จริงๆเราไม่ได้อย่างที่ต้องการทั้งหมดแต่อย่างน้อยเราก็ได้ประโยชน์ และฝ่ายผู้ขายก็ได้ประโยชน์เช่นกันในกรณีที่ตกลงกันได้)

  • อ้างคนที่มีอำนาจเหนือกว่า

วิธีนี้ก็ไม่อะไรมากไปกว่ายอมตกลงเงื่อนไขแต่บอกว่าต้องคุยกับคนที่อำนาจเหนือกว่าก่อน ซึ่งก็เราก็อาจจะอ้างไปเลยว่าผู้มีอำนาจเหนือกว่านั้นไม่โอเคกับข้อต่อรองนี่ช่วยปรับเปลี่ยนข้อต่อรองให้หน่อย ตัวอย่างเช่น ผมโอเคกับข้อตกลงนี้นะ แต่ขอไปถามภรรยาก่อนว่าโอเคไหม จากนั้นคุณก็โทรไปหาภรรยาหรืออ้างว่าภรรยาของคุณไม่โอเคกับข้อตกลงนี้จะขอลดราคาลงได้หรือไม่

อ่านแล้วได้อะไร

สำหรับผมหนังสือเล่มนี้สอนให้รู้เกี่ยวกับโลกของการต่อรอง การต่อรองที่ดีควรจะเป็นการต่อรองที่ได้ประโยชน์ทั้ง 2 ฝ่าย กลวิธีต่างๆในการต่อรอง ซึ่งเราอาจจะต้องเจอในชีวิตประจำวัน อีกทั้งหนังสือยังแนะนำอีกหลายๆเรื่องเกี่ยวกับการต่อรองที่ผมไม่ได้พูดถึง ไม่ว่าวิธีการดูว่าอีกฝ่ายเป็นคู่ต่อรองลักษณะไหน วิธีการตั้งคำถามกับอีกฝ่ายเพื่อให้ได้ข้อมูล วิธีการทำให้เป็นคนน่าเชื่อถือและน่าไว้ใจ การอ่านท่าทางการแสดงออกของอีกฝ่าย ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าสนใจมาก โอเคนั่นเป็นข้อดีของหนังสือส่วนข้อเสียซึ่งไม่เกี่ยวกับหนังสือซึ่งคือ เมื่อคุณอ่านมันแล้วคุณจะรู้สึกไม่เหมือนเดิม คุณจะเริ่มคิดว่าอีกฝ่ายต้องการอะไรจากคำถาม คุณจะคิดว่าการกระทำนั้นหวังผลหรือไม่ ซึ่งนั่นอาจจะทำให้คุณรู้สึกไม่สนิทใจเวลาพูดคุยเจรจาต่อรอง (แต่จริงๆมันก็อาจจะเป็นข้อดีสำหรับหลายคนก็ได้นะ)

เพิ่มยอดขาย ไต่อันดับด้วย SEO GOOGLE ANALYTICS & SEARCH CONSOLE

เพิ่มยอดขาย ไต่อันดับด้วย SEO GOOGLE ANALYTICS & SEARCH CONSOLE

เพิ่มยอดขาย ไต่อันดับด้วย SEO GOOGLE ANALYTICS & SEARCH CONSOLE

เนื่องจากอยากจะทำ Blog แบบจริงจังมากขึ้น เพราะคิดว่าอยากให้สิ่งที่เราเขียนเนี่ยมีคน Search เจอมากขึ้น สิ่งที่เราอยากจะสื่อ สิ่งที่เราอยากจะบอกจะได้ถึงคนมากขึ้น อีกทั้งอยากหารายได้เสริมเพิ่มขึ้นด้วย ซึ่งวิธีที่จะทำให้มีคนมา Web เรามากขึ้นโดยไม่ใช้เงินก็คือการทำ SEO นั่นเอง ก็เลยเป็นที่มาของการอ่านหนังสือ : เพิ่มยอดขาย ไต่อันดับด้วย SEO GOOGLE ANALYTICS & SEARCH CONSOLE

สอนขั้นพื้นฐาน

หนังสือสอนขั้นพื้นฐานเลยว่า Search engine นั้นต้องมีการส่ง crawler, robot (แล้วแต่จะเรียก) หรืออะไรแล้วแต่จะเรียกเนี่ยไปที่ web ต่างๆเพื่อเก็บข้อมูลของ web จากนั้นก็เอาข้อมูลในแต่ละหน้ามาเข้า Algorithm ของ Search engine นั้น ทำให้เราเห็นผลลัพธ์การ Search นั้นเอง การทำ SEO ก็คือการพยายามทำให้ Web ของเราเนี่ยอยู่ต้นๆไปอยู่อันดับแรกๆของอันดับการ Search ของ Search engine นั้น

ทำยังไงถึงจะติดอันดับดีๆ

หนังสือบอกว่าถ้าจะติดอันดับดีๆของ Search engine ได้นี่มี 2 ปัจจัยหลักๆคือ

  1. Content

อย่างแรกเลยคือ Content ของ Web ต้องตรงกับคำที่จะ Search ดังนั้นใน Content ของคุณควรจะมีคำที่เป็น Keyword ในการ Search อยู่ใน Content (และควรจะเกี่ยวข้องด้วย) ซึ่งคุณจะไม่แปลกใจที่บาง Web ที่คุณเข้า คุณจะเจอ Keyword ที่เกี่ยวกับ Search แฝงอยู่ในหน้านั้นเต็มไปหมด เป็น Link บ้าง เป็นคำซ้ำๆบ้าง (ลองไปเข้า Web 18+ เถื่อนๆ หรือเว็บพนันดูครับ คุณจะเห็นเลยว่าคำพวกนี้นี่ไปทุกหน้า แม้จะไม่เกี่ยวข้องกับหน้านั้นก็พยายามใส่) ทั้งหมดนั้นก็เพื่อทำให้ Page นั้นมี Keyword เยอะๆ เวลาตัว Crawler มันเข้ามาเก็บข้อมูลหน้านี้มันจะทำสิ่งที่การดูข้อมูลใน page นี้เพื่อทำ Index หน้า Page นี้ซึ่งจะเป็นการดูว่าหน้านี้มีคำอะไรอยู่บ้างมากน้อยเพียงใด ซึ่งอาจจะมีผลกับ Algorithm ที่ใช้ Search แต่จริงๆผมว่า Algorithm มันก็ฉลาดพอที่จะไม่หลงแค่จำนวน keyword ในหน้านั้นเพียงอย่างเดียวไม่งั้นมันเราคงทำหน้านั้นให้มีแต่คำที่เป็น keyword อย่างเดียวแล้ว

  1. Backlink

ว่าง่ายๆก็คือ Link ที่ชี้มายัง Web หรือ Page ในเว็บของเรา ยิ่งมี Link มาที่เว็บเรามากเท่าไหร่ Algorlithm ก็น่าจะให้คะแนน Web ของเรามากยิ่งขึ้น ซึ่งวิธีการทำ Backlink ก็มีหลากหลายรูปแบบ ซึ่งถ้าคุณอยู่ในวงการคอมพิวเตอร์เนี่ยคุณอาจจะเห็นบางคนชอบเอา Link เว็บของตัวเองไปแปะไว้ใน Web board ต่างๆ หรือ ตาม Socail platform ต่างๆ ซึ่งนั่นก็เพื่อทำให้เกิด Backlink กลับมานั่นเอง หรือถ้าทำเป็นธุรกิจหน่อยก็จะกลายเป็นรับจ้างทำ Backlink ไป Web คนที่ต้องการก็มี (ผมลอง Search ละมีจริงๆ)

สอนเทคนิคขั้นพื้นฐาน

สำหรับหนังสือเล่มนี้สอนเรื่องพื้นฐานที่ Web หนึ่ง Web ควรทำซึ่งนั่นก็คือ

  • สร้างไฟล์ robots.txt : ไฟล์นี้คือไฟล์เพื่อบอกให้ตัว crawler, robot (แล้วแต่จะเรียก) เนี่ยทราบว่าอนุญาตให้เข้าไปเก็บข้อมูลไหม แล้วแผนผังของเว็บอยู่ที่ไหน

  • สร้างไฟล์ sitemap : ไฟล์นี้คือไฟล์ที่บอกแผนผังของ web ว่ามีหน้าอะไรบ้าง เพื่อให้ตัว crawler เนี่ยเข้าไปค้นหา

  • การเพิ่ม meta tag ในส่วน header : meta tag คือ tag ที่ถูกสร้างเพื่อใช้ประโยชน์บางอย่างโดยเฉพาะเจาะจงกับ Program ที่มาอ่าน meta tag นั้น ซึ่งตัว crawler เองก็ได้นิยาม meta tag ที่ตัวเองต้องการใช้และให้คนทำ web เนี่ยทำการใส่ meta tag ตามทำตัว crawler กำหนด เช่น meta tag ที่ทำการบอกจะให้ทำสนใจหน้านี้ไหม หรือ meta tag ที่บอกว่า keyword ในหน้านี้คืออะไร

แนะนำ Tools

หนังสือแนะนำ Tools ที่คนอยากทำ SEO ควรรู้จักและใช้งานซึ่งมีหลายตัวมาก ซึ่งผมไปทดลองใช้ตามที่หนังสือแนะนำกลับพบว่า Tools หลายๆตัวไม่สามารถใช้งานได้แล้ว จะเหลือก็แค่ Google trend กับ wisesight ที่ใช้งานได้อยู่

  • Google Trend

ตัวนี้มีไว้ใช้ในการใส่คำที่เราคิดว่าเป็น Keyword ลงไป จากนั้นมันจะบอกว่า Keyword นี้มีคนค้นหามากเท่าไหร่ แถมบอกด้วยว่ามาจากที่ไหนบ้าง และมีแนะนำ Keyword ที่ใกล้เคียงกับคำนี้ให้เราด้วย ซึ่งนั่นทำให้เราหา Keyword ที่มีคน Search เยอะมาใส่ใน Web ของเรา Web เราอาจจะถูก Search เจอได้มากขึ้น แถมตัว Google trend ยังมีสรุปคำค้นหารายวันให้เราด้วยว่าในวันนี้และวันที่ผ่านๆมา คนทำการ Search keyword อะไรเป็น 10 อันดับแรกในวันนั้น

  • Wisesight

อันนี้เป็น Tools ที่บอกว่า Social ในขณะนี้กำลังสนใจเกี่ยวกับอะไร ซึ่งถ้าสนใจเล่นกับกระแสอันนี้ผมแนะนำเลย แต่ผมไม่ค่อยสนใจกระแสเลยไม่ค่อยสนใจ Tools ตัวนี้สักเท่าไหร่

Social

ส่วนนี้ผมไม่คิดว่าจะมีในหนังสือเล่มนี้เพราะเราจะทำ Web เกี่ยวอะไรกับพวก App Social เช่น Youtube, Facebook, Tiktok แต่หนังสือก็อธิบายไว้ดีครับว่า เดี๋ยวนี้คนเข้าพวก App Social นี้เป็นหลักดังนั้นถ้าเราทำ Page ทำช่อง Youtube แล้วดัง คนก็ย่อมสนใจและอาจจะเข้าไปที่ Web ของคุณ อีกทั้งตัว Description ของของพวก Youtueb เนี่ยเราสามารถทำ Backlink มาหา Web ของเราได้ด้วย โดยส่วนนี้หนังสือวิธีและ Tools ที่ช่วยให้ ช่อง (Youtube) และ Page (Facebook) ของเราเป็นที่น่าสนใจ ซึ่งในบทนี้ทำให้ผมรู้จัก Tool ชื่อ tubebuddy ซึ่งช่วยลดการทำพวกงานน่าเบื่อๆของการ Upload video youtube ไม่ว่าจะเป็นการใส่ Tag การทำ Description ซ้ำๆไปได้เยอะมาก (สบายขึ้นเยอะมากๆครับ ใครทำช่อง Youtube ผมแนะนำเลย)

อ่านแล้วได้อะไร

หนังสือเล่มนี้แนะนำเรื่องพื้นฐานเกี่ยวกับการทำ SEO ตั้งแต่วิธีการทำงานของ Search engine ไล่ไปจนถึงการใช้วิธีต่างๆเพื่อช่วยให้ Web ของเราขึ้นหน้าแรกๆของผลการ Search และเนื่องด้วยมันไม่ลงเทคนิคทำให้อ่านง่ายเข้าใจง่าย อ่านไม่นานก็จบละ ซึ่งข้อดีนี้ก็นำพามาซึ่งข้อเสียซึ่งนั่นก็คือมันไม่มีวิธีการทางเทคนิคที่ทำแล้วเห็นผลได้เลย (ส่วนนี้ผมเข้าใจเพราะเป็นความลับ ใช้ทำมาหากินได้เลย ใครจะมาบอกในหนังสือราคาไม่กี่ร้อยล่ะ) ซึ่งผมซึ่งเป็นโปรแกรมเมอร์นั้นคาดหวังไว้มาก แต่หนังสือเล่มนี้ก็ได้แนะนำ Tool ที่ผมไม่รู้จักหลายตัวไม่ว่าจะ Google trend ที่ช่วยตรวจสอบ Keyword นั้นว่ามีคนใช้หาเยอะแค่ไหน มีคำใกล้เคียงอะไรที่น่าสนใจ , Tubebuddy ที่ช่วยทำงานน่าเบื่อๆที่ต้องทำใน Youtube เช่นการติด tag ซ้ำๆ

ก็สำหรับใครที่อยากเริ่มทำ SEO ผมก็แนะนำให้ลองไปหามาอ่านครับ แต่อย่าคาดหวังว่าอ่านหนังสือเล่มนี้แล้วจะทำให้ Web ของคุณขึ้นอันดับ 1 เลย ผมว่าอ่านเล่มนี้ได้แค่ภาพกว้างๆ ส่วนทางเทคนิคอาจจะต้องหาหนังสือเล่มอื่นมาช่วยครับ (จริงๆชื่อหนังสือมันหลอกมากเลยครับ ถ้าเปลี่ยนเป็นพื้นฐานการทำ SEO น่าจะตรงกว่า)

How to Lie With Statistics - วิธีปั่นหัวคนด้วยสถิติ

How to Lie With Statistics - วิธีปั่นหัวคนด้วยสถิติ

How to Lie With Statistics - วิธีปั่นหัวคนด้วยสถิติ

สถิติ ตัวเลข กราฟ แผนภูมิ ผมที่เป็นโปรแกรมเมอร์มักจะเจอบ่อยๆ เพราะเราต้องเอามาดูประสิทธิภาพของ แบบเร็วขึ้นกี่ % เร็วกว่าเดิมเท่าไหร่กี่วิ หรือมีกราฟเปรียบเทียบระหว่าง Tools ตัวนึง กับ Tools อีกตัวนึงให้เห็นว่าเขาดีกว่าเร็วกว่า พอได้เห็นหนังสือเล่มนี้ก็เกิดความสนใจว่า คนเราจะถูกปั่นหัวด้วยสถิติได้ยังไง ในเมื่อสถิตินั้นผ่านการคิดคำนวณจากแหล่งข้อมูลมาแล้ว เหตุใดมันจึงเอามาปั่นหัวคนได้ ก็เลยยืมจากห้องสมุดที่ TK Park มาอ่าน

แค่ค่าเฉลี่ยก็หลอกกันได้

ตอนอ่านแรกๆก็ เฮ้ย ค่าเฉลี่ยมันจะหลอกอะไรเราได้วะ แต่พอเขายกตัวอย่างเรื่อง ค่าเฉลี่ยนรายได้ของพนักงานในบริษัทที่ รายได้อยู่ที่ 20000 ดอลล่าห์ต่อปี คำตอบตรงนี้มันดีครับ แต่ปัญหาคือ ค่าเฉลี่ยที่เขาว่าเนี่ยมันคือค่าเฉลี่ยใด เพราะค่าเฉลี่ยนี่มี 3 ตัวคือ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต(ค่าเฉลี่ยที่เราเข้าใจเนี่ยแหละ), ค่ามัธยฐาน(ค่ากลางคือค่าที่อยู่ตรงกลางของค่าทั้งหมดเมื่อเอามาเรียง), ค่าฐานนิยม(ค่าที่ซ้ำกันเยอะที่สุดในกลุ่ม) แต่ล่ะค่าเหล่านี้บอกข้อมูลคนล่ะอย่าง ตัวอย่างกลุ่มข้อมูลประมาณนี้

1
2
3
4
5
10
10
12
15
1000

จะได้ค่าเฉลี่ย 3 อย่างดังนี้

  • ค่าฐานนิยม : 10
  • ค่ามัธยฐาน : 12
  • ค่าเฉลี่ยเลขคณิต : 209.4

ถ้าสมมุติเปลี่ยนค่าพวกนี้เป็นค่าขนมต่อวันของเด็กนักเรียน ป.1 ถ้าคุณเอาค่าเฉลี่ยเลขคณิตไปบอกใครสักที่บอกว่า ค่าเฉลี่ยของเด็กนักเรียน ป.1 อยู่ที่ 209.4 บาท และทำให้ผมคิดว่า โอ้โห คุณพระเด็กสมัยนี้ได้เงินค่าขนมเยอะเหลือเกิน ซึ่งนั่นคือสิ่งที่ทำให้ผมเข้าใจผิดไปละ เพราะถ้าไปข้อมูลทั้งหมดจะเห็นว่ามันมีเด็กคนนึงได้เงิน 1000 ซึ่งทำให้ค่าเฉลี่ยมันดูสูงขึ้นแบบเกินไป ซึ่งถ้าเรามาดูค่าพวกฐานนิยมประกอบจะเห็นว่าค่าที่โผล่บ่อยที่สุดคือ 10 ต่างหาก เด็กส่วนใหญ่ได้เงินไปโรงเรียน 10 บาท แต่ฐานนิยมก็มีจุดอ่อนตรงที่มันบอกตัวที่ซ้ำมากสุด ส่วนมัธยฐานก็บอกแค่ค่าที่อยู่ตรงกลาง ดังนั้นจะเห็นว่าการดูแค่พวกค่าเฉลี่ยนั้นมันไม่พอครับ มันต้องดูค่าอื่นๆด้วย ไม่ว่าจะเป็นค่าสูงสุด ต่ำสุด ค่าความเบี่ยงเบน และอื่นๆ เรื่องนี้ทำให้ผมตระหนักได้ว่า การได้ยินเรื่องพวกค่าเฉลี่ยๆต่างเนี่ย ผมควรจะต้องไปหาดูค่าอื่นๆว่ามันมีค่าเฉลี่ยอะไร มีค่าอื่นให้ดูไหม และชุดข้อมูลที่ได้มานั้นได้มาอย่างไรเป็นกลางไหม

การเลือกกลุ่มตัวอย่างที่ไม่เป็นกลาง

สถิติหลายๆสถิติที่เราได้ยินมาส่วนใหญ่จะเก็บจากกลุ่มตัวอย่าง น้อยมากที่จะเก็บจากข้อมูลทั้งหมด (สมัยนี้อาจทำได้แล้วเพราะเทคโนโลยีมันถึง) พอมันมาจากกลุ่มตัวอย่างเราจะรู้ได้ยังไงว่ามันกลุ่มตัวอย่างที่ได้มามันแทนคนทั้งหมดได้ใช่ไหม หนังสือยกตัวอย่างถ้าใส่ถั่วสองสีผสมกันลงไปในอัตราส่วน 1 ต่อ 1 ไปในถัง คำถามคือถ้าเราไม่รู้ว่าอัตราส่วนมันคือเท่าไหร่เราจะทำยังไง วิธีที่ดีทีสุดคือนับทีละเม็ดแล้วเอามาหารกันหาอัตราส่วน แต่มันทรัพยากรในการทำสูงมาก ในที่นี้คือเวลานั่งการนั่งนับ ถ้าขี้เกียจนับเองก็ต้องจ้างคนมานับ สุดท้ายเราจะได้จำนวนอัตราส่วนที่แม่นยำ ดังนั้นสุ่มเอามาเลยดีกว่า เอามือกำลงไปในกองถั่วที่ผสมกัน ก็จะไออัตราส่วนคร่าวๆ ซึ่งถ้าคนไปกำถั่วเนี่ยเป็นกลาง เขาจะพยายามกำแบบสุ่ม ไม่เลือก ซึ่งก็จะได้อัตราส่วนคร่าวๆ แต่ถ้าผลลัพธ์เนี่ยมันมีบางอย่างมาเกี่ยวข้องเช่น ถ้าอัตราส่วนของถั่วแดงมากกว่าแล้วคนที่ทำหน้าที่ไปกำถั่วมาหาอัตราส่วนจะได้เงินเพิ่ม คนที่ทำหน้าที่กำถั่วก็ย่อมจะเลือกจุดที่มีถั่วสีแดงเยอะๆ เพื่อให้ได้ผลไปในทางที่ต้องการ นี่แหละครับตัวอย่างการพยายามเลือกกลุ่มตัวอย่างที่ไม่เป็นกลาง ซึ่งจากตัวอย่างที่พูดไปอันนี้คือการจงใจทำเพื่อหวังประโยชน์ เราเจอมาเยอะแล้วในประเทศเรา ตัวอย่างเช่น การทำ Poll ถามว่านายกทำงานดีไหม แล้วผลออกว่าคนจำนวน 90% บอกว่านายกเป็น คำถามคือมันถูกต้องไหม ก็คงต้องบอกว่าถูกต้องครับ แต่คำถามถัดไปที่เราต้องถามคือ กลุ่มตัวอย่างคือใคร กลุ่มตัวอย่างอยู่ที่ไหน จำนวนคนคือเท่าไหร่ ซึ่งถ้าเราได้คำตอบ เราจะรู้เลยว่า Poll นั้นมันไร้สาระมากแค่ไหน

แต่หนังสือก็บอกว่าการเลือกกลุ่มตัวอย่างที่ไม่เป็นกลางเนี่ยไม่ได้มีแต่แบบจงใจอย่างเดียว มันมีทั้งแบบไม่ได้ตั้งใจเพราะคิดไม่ถึงเช่น ไปเลือกกลุ่มตัวอย่างในเมืองเวลาทำงานปกติ ซึ่งมันเอนเอียงเพราะขาดคนที่ทำงานในเวลาที่ไม่ปกติ เช่น กะกลางคืนเป็นต้น

อ่านแล้วได้อะไร

สำหรับหนังสือเล่มอ่านแล้วได้เห็นมุมมองการเอาสถิติมาใช้ในทางที่ผิดได้แบบที่ผมไม่คิดว่าเขาจะทำกัน ตัวอย่างเช่น หลอกกันด้วยค่าเฉลี่ยที่เอาคนที่มีรายได้สูงๆมาดึงค่าเฉลี่ยให้เห็นว่าโดยรวมคนแถบนั้นเป็นคนมีฐานะ ซึ่งจริงๆคนส่วนใหญ่แถวนั้นมีรายได้ไม่ดีกันส่วนใหญ่ (นักการเมืองนั้นชอบทำ) การเลือกกลุ่มตัวอย่างที่ไม่เป็นกลาง การใช้ผลการทดลองจากกลุ่มตัวอย่างที่เล็กเกินไป เพื่อให้ได้ผลการทดลองที่มหัศจรรย์ (ถ้ากลุ่มการทดลองเล็กมาก ไม่กระจาย ก็จะได้ผลการที่สุดขอบออกมา เช่น ยาฆ่าเชื้อได้ 99% จากกลุ่มการทดลองเชื้อ 5 ถาด ซึ่ง 5 ถาดนั้นอาจจะเป็นเชื้อชนิดเดียวกันหมด มันเลยตายเพราะยาตัวนี้เกือบทั้งหมด) และเอาไปใช้เป็นโฆษณา ซึ่งตัวคนโฆษณาก็ไม่ได้บอกการทดลองอื่นๆซึ่งมันอาจจะมีที่ออกมาเป็นกลางๆหรือแย่ก็ได้ ซึ่งพอเราได้อ่านหนังสือเล่มนี้ทำให้เราตระหนักรู้ว่าข้อมูลสถิติต่างๆที่เขาทำให้เราเห็นเนี่ยเขาจงใจทำขึ้นมาเพื่อชี้นำเราบางอย่าง เราต้องคิดตามในหลายๆเรื่อง ไม่ว่าเป็น ข้อมูลมาจากที่ไหน กลุ่มตัวอย่างเลือกยังไง เป็นกลางรึเปล่า เขาต้องการอะไรจากสถิติ เมื่อเราตั้งคำถามพวกนี้ ตามหาข้อมูลที่หายไป เราอาจจะได้รู้ว่าจริงๆแล้วสถิตินี้น่าเชื่อถือหรือไม่ หรือมันเป็นสถิติที่ออกมาเพื่อผลประโยชน์อะไร

ก็ตามธรรมเนียมที่ผมจะไม่ได้บอกข้อดีอย่างเดียว ข้อเสียของหนังสือเล่มนี้คือมันเก่ามากและตัวอย่างที่ยกตัวอย่างให้ดูเป็นข้อมูลเกี่ยวกับอเมริกาซะส่วนใหญ่ (ไม่แปลกเพราะเขาตีพิมพ์ขายในสมัยก่อน ขายเฉพาะคนในประเทศก็ลำบากแย่แล้ว) ทำให้เราไม่ค่อยเข้าใจว่าตัวอย่างพวกนี้มันคืออะไร มีอิทธิพลกับสังคมเยอะขนาดนั้นเลยเหรอ ก็เลยทำให้เราไม่ค่อยเข้าใจถึงผลกระทบนั้นสักเท่าไหร่

สำหรับเล่มนี้ผมแนะนำให้อ่านเลยครับ ในปัจจุบันเราอาจหลุดพ้นจากเรื่องงมงายพวกภูติผีปิศาจ แต่เราอาจจะยังหนีไม่พ้นการหลงงมงายไปกับสถิติที่ถูกสร้างมาหลอกเราให้หลงงมงายไปตามสิ่งที่เขาต้องการ

The Man in the High Castle - บุรุษปราสาทฟ้า

The Man in the High Castle - บุรุษปราสาทฟ้า

The Man in the High Castle - บุรุษปราสาทฟ้า

หลังจากอ่านหนังสือปรัชญา ชีวิต จิตวิญญาณ มาหลายเล่ม ก็เลยอยากพักสมองอ่านหนังสือที่ไม่ต้องมาก อ่านแค่เอาสนุก สุดท้ายก็เลยไปจบที่อ่านนิยายดีกว่า แต่จะอ่านนิยายทั้งทีมันต้องอ่านนิยายวิทยาศาสตร์สิ เพราะเราจะได้เห็นมุมมองอื่นที่ไม่ได้มาจากจิตวิญญาณ (ที่ตอนนี้โคตรเอียนละ) ก็เลยมาจบที่เรื่อง “The Man in the High Castle - บุรุษปราสาทฟ้า” เพราะไปเห็นเรื่องย่อที่โคตรว้าว อีกทั้งยังได้รับรางวัล The Hugo Award ด้วย

ถ้า A แล้ว B

ในชีวิตเราคงได้ยินคำถามประมาณนี้เสมอตั้งแต่กรณีเล็กๆเช่น ในวันที่เรื่องแย่ๆ ถ้าเราออกจากบ้านช้ากว่านั้นสัก 10 นาที เหตุการณ์มันจะเป็นแบบนี้ไหม หรือ ในงานแต่งงานที่เจ้าบ่าวบอกว่า ถ้าวันนั้นออกจากบ้านช้ากว่านั้นสัก 10 นาทีจะเป็นยังไง คงไม่ได้เจอเจ้าสาวคนนี้ หรือพีคขึ้นมาหน่อย ถ้าไทยตกเป็นเมืองขึ้นของชาติตะวันตกล่ะ อะไรจะเกิดขึ้น ประเทศเราจะพัฒนาขึ้นไหม เราจะใช้ภาษาอังกฤษกันดีขึ้นรึเปล่า เราจะโน่นจะนี่จะนั่นไหม หนังสือเรื่องนี้ก็ใช้คำถามประมาณนี้เช่นกัน แต่อยู่ระดับที่ใหญ่กว่าประเทศแต่เป็นทั้งโลกคือ ถ้าสงครามโลกครั้งที่ 2 ฝ่ายอักษะ (ญี่ปุ่น + เยอรมัน) ชนะสงครามจะเป็นยังไง

เราอยากรู้ เขาก็อยากรู้

ความสนุกอย่างหนึ่งของหนังสือเล่มนี้คือ ตัวละครในหนังสือนั้นบอกเล่าความเป็นไปในกรณีที่อักษะชนะ ไม่ว่าจะเป็นญี่ปุ่นกับเยอรมันแบ่งครึ่งสหรัฐออกเป็น 2 ส่วนแล้วแยกการปกครอง วิทยาการที่ก้าวหน้าของโลกซึ่งเกิดจากนักวิทยาศาสตร์เยอรมัน ความบ้าคลั่งของเยอรมันในการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์และเชิดชูแต่เผ่าพันธุ์ของตนเอง แต่พวกเขาก็มีคำถามเช่นกันว่า ถ้าสัมพันธมิตรชนะล่ะอะไรจะเกิดขึ้น คนอ่านอย่างผมนี่ยิ้มเลยมันแบบ “กูรู้โว้ยว่าจะเป็นยังไง” แต่ถ้ามองกลับกันตัวละครฝั่งโน้นก็คงรู้สึกแบบเดียวกับผมตอนนี้

เกี่ยวเนื่องกันทั้งหมด

ปกติผมจะเคยอ่านแต่นิยายที่เดินเรื่องด้วยตัวละครเอกตัวเดียว หรืออย่างมากสุดก็เล่าผ่านกลุ่มตัวเอกที่แยกย้ายกัน แต่เรื่องนี้เล่าแตกต่างออกไป ตัวละครมีหลากหลายมีเส้นเรื่องของตัวเองไม่ว่าจะ นายพลญี่ปุ่น นักค้าของเก่า ครูสอนวิชาการต่อสู้ นักธุรกิจ หนุ่มตกงาน (มีเยอะกว่านี้) แต่ทุกการกระทำของทุกตัวละครส่งผลไปหาตัวละครอื่นๆ จนตอนจบนี่แบบ “เฮ้ย ทำไมมันดูลงตัวแบบนี้” ซึ่งทั้งหมดนั้นมาจากการแนะนำการกระทำของผ่าน “อี้จิง”

อี้จิง

ในเรื่องมีการใช้อี้จิงทำนายเรื่องต่างๆ ซึ่งตัวละครทุกตัวเชื่อการทำนายจากอี้จิงประหนึ่งว่ามันถูกต้องเสมอ ซึ่งตอนแรกผมก็ไม่เข้าใจว่าทำไม จนตอนอ่านจบมาเข้าใจเลยว่าทำไม ซึ่งจริงๆมันเป็นการบอกเป็นนัยๆในเรื่องมาตลอดอยู่แล้วซึ่งผมตีความได้แบบนึงเดี๋ยวไปสปอยด้านล่างละกัน

อ่านแล้วได้อะไร

สำหรับผมนิยายเรื่องนี้นั้นสนุกมาก แถมให้แนวคิด ปรัชญา ในหลายๆตอน เช่น การตัดสินของจริงกับของไม่จริง คุณค่าของศิลปะ ในเรื่องมีพูดถึงมุมมองของคนหลายๆคน หลายมุมมอง ไม่ว่าจะเป็นชาวยิวที่รอดตายจากเยอรมัน ชาวเยอรมันว่าทำไมถึงเกลียดคนยิว หรือแม้แต่ชาวเยอรมันเองที่ไม่เห็นด้วยกับการกระทำของพวกเดียวกัน ชาวอเมริกาที่ตกเป็นเมืองขึ้นของญี่ปุ่นมองคนญี่ปุ่นอย่างไร มองคนที่ต่ำกว่าอย่างไร ซึ่งผมว่ามันดีมากเพราะหลายๆเรื่องที่เคยได้อ่านมันจะแบบ เอนเอียงเข้าข้างฝ่ายนั้นฝ่ายนี้ แต่เรื่องนี้เล่าทุกมุมของทุกตัวละครให้เราไปตัดสินใจเอง (ซึ่งสุดท้ายเราอาจจะตัดสินใจไม่ได้ด้วยซ้ำ และมันเป็นการบอกเป็นนัยบางอย่างแก่เราผู้อ่าน) ทุกคนไม่ได้ขาวสะอาด แต่ก็ไม่ได้ดำจนไม่มีขาวเลย ทุกคนต่างมีเหตุผลของตนเพื่อเอาชีวิตรอดบนโลกใบนี้ ผมชอบคำพูดหนึ่งของตัวละครในเรื่องนี้มาก ผมขอเอามาใช้จบส่วนอ่านได้แล้วอะไรเลยละกัน

We do not have the ideal world, such as we would like, where morality is easy because cognition is easy. Where one can do right with no effort because he can detect the obvious.

เราไม่ได้อยู่ในโลกอุดมคติที่เราหวัง ที่จริยธรรมนั้นเป็นเรื่องง่ายเพราะมองเห็นได้ชัด ที่ซึ่งคนเราจะทำความดีได้ไม่ยากเพราะเขามองเห็นได้ว่าอะไรดีอะไรชั่ว

เออแต่ว่าลืมไปเดี๋ยวจะหาว่าอวยเรื่องนี้อย่างเดียว ไม่พูดข้อเสียบ้างเลย ก็สำหรับผมข้อเสียคือมันพูดถึงเกี่ยวกับคนในประวัติศาสตร์มากมาย ซึ่งเราอาจไม่รู้จักเลยขึ้นมา (ซึ่งก็บอกเลยว่าตอนนี้ผมก็ไม่รู้จัก) แล้วไม่ปูพื้นเราด้วย ซึ่งกลายเป็นหน้าที่เราต้องไปหาว่าเขาคนนั้นคือใครเอง ( หรือไม่สนใจว่าเขาคือนาย A แล้วตัวละครพยายามบอกว่านาย A พยายามทำอะไร ) หรือในเรื่องมีการใช้ศัพท์เฉพาะแบบทับศัพท์เลย แบบ ภาษาเยอรมัน เพลงเยอรมัน หรือ ภาษาญี่ปุ่น ไปเลย ซึ่งเราจะเหวอมากแล้วเขาไม่อธิบายตรงนั้นเลย เราต้องไปไล่หาเองว่ามันคืออะไรเองอีก เวลาอ่านก็จะหงุดหงิดๆหน่อย

สปอย และ การตีความส่วนตัว

ตรงนี้เป็นสปอยและการตีความ ผมไม่อยากให้คุณอ่านตรงนี้ถ้ายังไม่หามาอ่าน เพราะคุณจะถูกครอบงำการตีความในแบบของคุณ ซึ่งเป็นสิ่งที่ดีที่สุดและน่าประทับใจที่สุดของการอ่านหนังสือนิยายประเภทที่เขาต้องการให้ตีความ

โดยส่วนตัวผมตีความว่าโลกในหนังสือก็คือโลกที่ผู้เขียนสร้างขึ้นและบงการเรื่องราวทั้งหมดหรือว่าง่ายๆผู้เขียนคือพระเจ้านั่นแหละ (ก็แน่ล่ะ ทำไมจะไม่ใช่ ก็เขาเขียน) มากกว่าทฤษฎีโลกคู่ขนาน (แต่จริงๆจะบอกว่าโลกคู่ขนานก็ได้แหละ) ที่ผมคิดอย่างนั้นเพราะผู้เขียนบงการทุกการกระทำของตัวละครในเรื่องผ่านการทำนายของอี้จิงว่าให้ทำอะไร แบบนั้นแบบนี้ดีไหม ซึ่งจะเห็นว่าตัวละครไม่มีความคิดจำพวกแบบไม่เชื่อเลยจะเชื่อกันไปหมด ไม่ว่าจะของแฟรงค์ ทาโกมิ หรือบุรุษปราสาทฟ้าเองเองก็ถูกบงการให้เขียนเรื่อง “ตั๊กแตนหมอบ” ขึ้นมาให้มีเนื้อเรื่องเป็นสัมพันธมิตรชนะสงครามเพื่อให้เนื้อเรื่องมันตรงกันข้ามกับเรื่องที่แต่งและง่ายในการเขียนของผู้แต่งเองด้วย และสุดท้ายคือการใช้ “อี้จิง” ถามว่าตกลงการที่สัมพันธมิตรชนะสงครามเป็น “ความจริง” ใช่หรือไม่แล้วอี้จิงตอบว่า “ใช่คือความจริง” คือผมตีความว่าคนเขียนกำลังบอกเราและตัวละครว่า ใช่แล้ว เรื่องจริงคือสัมพันธมิตรคือผู้ชนะและนั่นคือโลกของความจริง (โลกของคนเขียนและผู้อ่าน) ส่วนพวกคุณ (ตัวละคร) คือโลกไม่จริง โลกสมมตินั่นเอง ซึ่งตอนสุดท้ายตัวละครถามว่าคุณรู้ความจริงแล้วคุณจะทำอะไรต่อ ซึ่งมันเป็นนัยๆว่า เฮ้ย คุณรู้แล้วนะว่าคุณเป็นตัวละครเป็นโลกสมมติ (นี่มัน Break the Fourth Wall ชัดๆ) คุณยังอยากจะทำอะไรอีกเหรอ

ที่ผมตีความได้ก็น่าจะประมาณนี้ แต่ถ้าคิดแบบเป็นเหตุเป็นผลไม่เอาอี้จิงมาโยง ไม่ตีความนัยแบบมากไป เรื่องนี้ก็เหมือนเป็นโลกคู่ขนานกับโลกของเรา หรือใช้ทฤษฎีมัลติเวิสมาจับก็ได้ (ต้องขอบคุณมาเวลที่ทำให้คนส่วนใหญ่เข้าใจทฤษฎีกันแบบแพร่หลาย สมัยก่อนผมเอาเรื่องนี้โลกคู่ขนานไปคุยกับใครนี่เขาจะงงๆกันไปหมด) เพราะในเรื่องจะมีตอนนึงที่ทาโกมิเพ่งจิตจนตัวเองหลุดอีกโลกคู่ขนานที่สัมพันธมิตรชนะสงคราม ดูได้จากไม่มีสามล้อมีแต่แท็กซี่ ชาวญี่ปุ่นถูกดูถูก

สำหรับใครตีความแบบไหนก็ลองมาแลกเปลี่ยนการตีความกันดูครับ ผมว่ามันสนุกตรงได้แลกเปลี่ยนการตีความกันนี่แหละ ไม่แน่การตีความของคุณอาจทำให้ผมเหวอจนบอกว่า เออใช่ มันน่าจะเป็นแบบนี้มากกว่านี่แหละคำตอบที่ผมคิดว่าใช่

Awareness - ตื่นรู้

Awareness - ตื่นรู้

Awareeness - ตื่นรู้

ชีวิตคืออะไร ความสุขที่เราต้องการคืออะไร เราควรใช้ชีวิตยังไง คำถามพวกนี้เริ่มเข้ามาในชีวิตผมเมื่อผมเรียนจบมาทำงาน เริ่มมีอิสระในชีวิตเพราะสามารถทำงานหาเงิน เลี้ยงดูตัวเองได้ ใครจะมาห้ามจะมาสั่งให้คิดแบบนั้นแบบนี้ไม่ได้อีกต่อไปแล้ว (เขาจะใช้คำว่าให้ทำกับข้าวให้กิน ใครหาเงินให้ กับเราไม่ได้อีกแล้ว) หลายสิ่งที่เคยเชื่อ หลายสิ่งที่คิดว่าถูก เมื่อใช้เริ่มใช้เหตุผลมาจับหลายเรื่องก็มักไม่จริง ความสุขที่เขาปลูกฝังอาจไม่ใช่ความสุขของเรา ดังนั้นเราจึงต้องทำตามแบบพระพุทธเจ้าที่เรานับถือกัน ซึ่งนั่นก็คือ “การออกตามหาความสุขที่แท้จริง ความหมายของชีวิต วิธีดับทุกข์” ซึ่งแต่ละคนก็มีวิธีไม่เหมือนกัน ของผมก็ไม่เหมือนกับพระพุทธเจ้าที่ออกบวช ของผมแค่ตามหาวิธีคิด วิธีการตีความหมายของชีวิต วิธีการดับทุกข์ของคนบนโลกว่าเขาใช้วิธีอะไรกันบ้าง วิธีใดจะตรงกับเรา ซึ่งนั่นนำพาผมให้ไปเจอหนังสือปรัชญา หนังสือศาสนา ต่างๆ ซึ่งหนังสือที่ผมจะมาเล่าให้ฟังว่าอ่านแล้วได้อะไรคือ Awareness - ตื่นรู้ ของนักเขียนที่ชื่อ OSHO ซึ่งในคนจำนวนหนึ่งบูชาเป็นพระเจ้า แต่บางคน (รวมถึงผม) มองว่าเขาลวงโลกมากกว่า ดังนั้นการอ่านหนังสือเล่มนี้ก็เป็นหนึ่งในความท้าทายของผมที่ต้องลดอคติ (ใช้คำว่าลดเพราะยังไงก็มี) และทำความเข้าใจสิ่งที่เขาเขียน (หรือจ้างเขียน)

บอกตามตรงว่าหนังสือเล่มนี้พูดเรื่องอะไรที่ผมคิดว่า WTF (อะไรของมึง) เยอะมาก อีกทั้งใช้การเปรียบเทียบกับสิ่งอื่น ซึ่งบางอันก็สมเหตุสมผล บางอันก็อะไรของมึง ดังนั้นเนื้อหาต่อจากนี้คือแก่นที่ผมคิดว่าผมได้จากหนังสือเล่มนี้

อดีต อนาคต ปัจจุบัน

ตัวผู้เขียนพูดถึง อดีต ว่าเป็นสิ่งที่ตายไปแล้ว สิ่งที่เราไม่ควรไปให้ค่าอะไรกับมันมากจนเกินไป เพราะอดีตจบไปแล้ว เราแก้ไขอะไรไม่ได้แล้ว ไปคิดถึง ไปสนใจ ก็เท่านั้น เช่นกัน อนาคตเป็นสิ่งที่ยังมาไม่ถึง เราไม่ควรไปสนใจมันมาก แต่โดยส่วนใหญ่แล้วมนุษย์จะใช้ความคิดที่อยู่ในหัวของเรามุ่งไปหา อดีต และ อนาคต เช่น เราคิดถึงเรื่องในอดีต นึกถึงวันดีๆ ความรู้สึกที่ดีในอดีต และสุดท้ายเราก็จะพยายามให้อนาคตนั้นเป็นเหมือนอดีตที่เราคิดว่าดีมากที่สุด หรือ การคิดว่าอดีตที่ไม่ดีแบบนั้นแบบนี้ต้องถูกจัดการด้วยวิธีการแบบนี้ ดังนั้นเมื่อเกิดเหตุการณ์คล้ายๆเดิมในอดีตเราก็ตอบสนองกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันนั้นแบบอดีต ซึ่งการทำแบบนี้นั้นผู้เขียนบอกว่าเป็นการฉายภาพอดีตไปยังอนาคต ชีวิตจะเป็นแบบเดิมไปเรื่อยๆ เช่นกันถ้าเราคิดแต่ถึงอนาคตเราจะวาดฝันไปเรื่อยๆ คิดว่าวันพรุ่งนี้จะต้องเป็นแบบนั้นแบบนี้ เหมือนวิ่งไล่อะไรที่ไม่มีทางเป็นจริงสักทีประมาณนั้น

สิ่งที่ผู้เขียนอยากจะให้เราสนใจจริงๆคือ “ปัจจุบัน” ปัจจุบันคือวินาทีนี้ เรารู้สึกอะไร ทำอะไร ต่างหาก โดยผู้เขียนพยายามให้เราเข้าใจใกล้ปัจจุบันจนถึงขนาดไม่มีช่องว่างให้คิดกันเลยทีเดียว ซึ่งสิ่งนั้นผู้เขียนเรียกว่าการตระหนักรู้

การตระหนักรู้

การตระหนักรู้ของผู้เขียนคือการอยู่กับปัจจุบัน อยู่แล้วรู้สึกถึงปัจจุบันโดยไม่ใช้ อดีตและความทรงจำมาเกี่ยวข้องเลย ในหนังสือเปรียบเทียบด้วยการมองดอกไม้ ถ้าคุณมองดอกไม้แล้วคิดว่ามันสวยนั่นแปลว่าคุณไม่ได้อยู่กับปัจจุบัน เพราะตั้งแต่การที่คุณตีความมันว่าสวย นั่นคือคุณคิด คุณไปเอาภาพดอกไม้ในอดีตมาเปรียบเทียบกับปัจจุบันแล้ว ซึ่งผมก็ไม่ค่อยเข้าใจเหมือนกันว่าการมองแบบปัจจุบันที่ผู้เขียนกำลังพูดถึงนั้นมันคืออะไร

การตระหนักรู้คือ “การเฝ้ามอง” ผู้เขียนบอกไว้ประมาณนั้น การเฝ้ามองคือมองเฉยๆ มองว่ากำลังเกิดอะไรขึ้น มองว่าสิ่งนั้นเป็นอย่างไร ไม่มีการคิด วิเคราะห์ใดๆมาเกี่ยวข้องกับการเฝ้ามอง ปล่อยให้มันเกิดไป การเฝ้ามองที่ผู้เขียนว่านั้นรวมถึงการเฝ้ามองตัวเองด้วย เฝ้ามองว่าตัวเองกำลังโกรธ เฝ้ามองว่าตัวเองกำลังมีความสุข เฝ้ามองกำลังหายใจ กำลังทำอะไรอยู่ในขณะปัจจุบันขณะนั้น โดยไม่ตัดสินใดๆ

ผู้เขียนบอกว่าถ้าทำได้เนี่ยคุณจะได้พบกับพระเจ้าที่มาหาคุณที่บ้านทุกวัน เพียงแค่คุณนั้นไม่ได้อยู่บ้าน การเฝ้ามองคือการกลับบ้านมาเพื่อพบพระเจ้าที่กำลังรออยู่ที่บ้านเราเลยทีเดียว อีกทั้งสำหรับผู้เขียนนั้นการตระหนักรู้เหมือนยาวิเศษครอบจักรวาล ซึ่งผมอ่านแล้วดูขัดๆในหลายๆเรื่อง แบบการยกตัวอย่างว่าตระหนักรู้จะทำให้คนคนนึงเลิกเป็นโจรเลยทีเดียว ผมไม่เข้าใจว่าทำไมการตระหนักรู้มันจะมีผลมากขนาดนั้นเลย การตระหนักรู้ทำให้เรารู้หรือว่าสิ่งใดควรหรือไม่ควร เพราะเราเฝ้ามองมันเฉยๆนี่ แถมเราไม่ได้ใช้อดีตมาตัดสินด้วย การเฝ้ามองการกระทำของตนเองในขณะที่ฉกชิงวิ่งราว (การเป็นโจรนั่นแหละ) จะทำให้เราหยุดการเป็นโจรหรือในเมื่อเราแค่เฝ้ามอง ตระหนักรู้ว่าเรากำลังปล้น เราแค่รู้ว่าปล้นเท่านั้น เราไม่ได้ตัดสินนี่ว่ามันถูกมันผิด แล้วเหตุใดการตระหนักรู้ถึงจะทำให้โจรคนนั้นหยุดปล้นเสียล่ะ มันประหลาดไหม

อ่านแล้วได้อะไร

สำหรับผมการอ่านหนังสือเล่มนี้ไม่มีอะไรมากไปกว่าการกลับไปนึกถึงกับคำสอนของศาสนาพุทธที่สอนผมมาตั้งแต่เด็กแต่ไม่เคยทำได้นั่นคือ การอยู่กับปัจจุบัน ซึ่งนั่นคือการมี “สติ” ใช่ครับการมีสติ รู้ตัวว่ากำลังทำอะไร คิดอะไร หนังสือทั้งเล่มที่อ่านมาคือการกลับมาหาคำว่าสติเลย แต่ชาวพุทธ (และอดีตชาวพุทธ) กลับไม่อยู่กับปัจจุบันเลย บางคนคิดแต่กรรมในชาติที่แล้ว บางคนคิดแต่หาสวรรค์ในอนาคต สนแต่เรื่องเหลือเชื่อ จนลืมสิ่งที่เรียกว่าการอยู่กับปัจจุบันซึ่งนั่นคือสติ หากท่านมีสติท่านจะรู้ตัวว่าท่านกำลังทำอะไร ไม่ปล่อยให้สิ่งจากอดีตมามีผลเหนือตัวคุณ คุณก็สามารถทำปัจจุบันได้อย่างรู้เนื้อรู้ตัวว่าควรจะทำปัจจุบันไปในทิศทางไหน ผมว่าตัวหนังสือนั้นแย่กว่าสิ่งที่ผมถูกสอนมาตั้งแต่เด็กเสียอีกนะ ในหนังสือไม่ได้บอกให้คุณใช้ ประสบการณ์จากอดีต เหตุผล มาใช้ในการตัดสินใจกระทำในสิ่งที่กำลังจะทำด้วย ดูได้จากตัวอย่างเรื่องโจรที่ผมบอกขัดๆเลย คือผู้เขียนพูดว่าแค่ตระหนักรู้ก็เลิกเป็นโจรแล้ว แต่ศาสนาพุทธสอนให้เราตระหนักรู้ (มีสติ) ว่าเรากำลังทำอะไร เรากำลังปล้น การปล้นเป็นสิ่งที่ดีไหม เหตุผลที่บอกว่ามันดีไม่ดีคืออะไร ถ้าไม่ดีเราจึงหยุด นี่สิถึงจะครบกระบวนการ

โดยส่วนตัวมองว่าหนังสือพยายามยกตัวอย่างให้เข้าใจได้ง่าย มีพลังทำให้เชื่อแบบว้าวๆ ไม่ต้องมีเหตุผลอะไรมาก บอกว่าวิธีนี้วิธีนั้นคือการแก้ปัญหาแบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาดมันดู “เกินไป” ถ้าคิดตามพยายามทำความเข้าใจมันจะรู้สึกขัดไปหมด พออ่านมาถึงตรงนี้แล้วเหมือนมันจะมีแต่ข้อเสียเต็มไปหมด ใช่ครับมันมีข้อเสียเต็มไปหมดแล้วผมเป็นคนมองหาข้อเสียด้วยแล้วผมเลยเล่าแต่ข้อเสีย แต่ข้อดีมันก็มีครับ หนังสือยกตัวอย่างวงจร อดีต กับ อนาคตได้เห็นภาพดี การอธิบายการฉายภาพจากอดีตไปหาอนาคตได้เข้าใจดี ตัวอย่างบางตัวอย่างเข้าใจง่าย แถมตลกด้วย

ในหนังสือมีอีกหลายอย่างที่ผมไม่ได้เล่า เช่น การฝึกการตระหนักรู้ (แต่จริงๆคนเคยศึกษาศาสนาพุทธ เราก็เคยฝึกกันแล้ว) ซึ่งมีหลายแบบ เรื่องระดับจิต (ผมไม่พูดถึงเพราะสำหรับผมเหมือนเพ้อเจ้อ) สำหรับใครที่สนใจเกี่ยวกับการตระหนักรู้ตามแนวคิดและวิธีปฏิบัติของ OSHO ก็ไปลองซื้อมาอ่านดูครับ

THE INTELLIGENT INVESTOR - คัมภีร์การลงทุนแบบเน้นคุณค่า

THE INTELLIGENT INVESTOR - คัมภีร์การลงทุนแบบเน้นคุณค่า

THE INTELLIGENT INVESTOR - คัมภีร์การลงทุนแบบเน้นคุณค่า

สำหรับหนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือชุดแรกๆที่ผมซื้อมาอ่าน (ดูจากคำหนังสือแนะนำของคุณ Tactschool ) โดยตอนนั้นตั้งเป้าว่าอยากจะเป็นนักลงทุน นักเล่นหุ้น วาดภาพฝันว่ากลางวันเขียน Code การคืนอ่านเรื่องการลงทุนพอพร้อมก็เริ่มลงทุนจะรวยเป็นเศรษฐีบลาๆ แต่พอได้เห็นหนังสือก็อุทานว่า “เล่มใหญ่ชิบหาย” ประกอบกับช่วงนั้นมีหลายเรื่องเข้ามาในชีวิตไม่ว่าจะเรื่องความรัก เรื่องเรียน ป.โท ทำให้ตัวเองเปลี่ยนไปสนใจหนังสือปรัชญาที่ พยายามทำความเข้าใจชีวิต

กว่าจะได้กลับมาอ่านแบบจริงจังก็ปีนี้เพราะเริ่มรู้สึกว่าเราน่าจะต้องวางแผนเรื่องการลงทุนแบบจริงจังละก็เลยกลับมาอ่าน ซึ่งพอมาอ่านก็รู้สึกว่าสมแล้วที่นักลงทุนที่ประสบความสำเร็จหลายคนแนะนำ เพราะเนื้อหานั้นเป็นเรื่องจริง ตรงไปตรงมา และจริงใจ

การลงทุน กับ การเก็งกำไร

หนังสือเล่มนี้แนะนำตั้งแต่ต้นว่าจะพูดเรื่องการลงทุนไม่ใช่เรื่องการเก็งกำไร ตัวผู้เขียนจึงอธิบายเกี่ยวกับการลงทุนและการเก็งกำไรไว้ว่า “การลงทุนเป็นการกระทำที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของการวิเคราะห์อย่างละเอียด ซึ่งจะปกป้องเงินต้นและสร้างผลตอบแทนที่เพียงพอให้ การกระทำใดๆที่นอกเหนือกฏเกณฑ์นี้จะถือว่าเป็นการเก็งกำไร” จะเห็นว่าผู้เขียนไม่ได้บอกการลงทุนกับอะไรเป็นการเก็งกำไร แต่มันจะเป็นการเก็งกำไรทันทีเมื่อคุณไม่ได้วิเคราะห์อย่างละเอียดและการกระทำนั้นไม่ได้ปกป้องเงินต้นของคุณ ซึ่งมันตอบคำถามหลายๆคำถามของผมเช่น ผมควรจะลงทุนในอะไรดี ตอนแรกว่าจะไปลงทุนในคริปโต เทรดคริปโต แบบไม่รู้ แต่พอมาเจอการอธิบายนี้ถ้าผมยังคิดจะไปลงทุนคริปโตโดยการเทรดแบบไม่รู้ นั่นไม่ใช่การลงทุน มันคือการเก็งกำไร เพราะผมไม่รู้อะไรเลยเกี่ยวกับคริปโต เข้าไปใช้ใจใช้ความรู้สึกดูๆว่ามันจะขึ้นจะลง แต่กลับกันถ้าผมไปศึกษาเรื่องเทรดคริปโตแบบจริงจัง หามูลค่าที่แท้จริง หาวิธีที่ทำแล้วไม่มีทางเสียเงินต้นหรือโอกาสเสียเงินต้นน้อยมาก แล้วไปทำการเทรดอะไรแบบนั้น สิ่งนี้ถึงเรียกว่าการลงทุน

ไม่ได้สอนให้เอาชนะ แต่สอนป้องกันความผิดพลาดที่เคยเกิดขึ้นมาแล้ว

หนังสือได้เล่มนี้จริงใจกับเรามากถึงขนาดบอกตั้งแต่ต้นเลยว่า เป้าหมายของเขาไม่ได้สอนวิธีที่จะเอาชนะตลาด หรือได้กำไรแบบเป็นกอบเป็นกำ หรือการเก็งกำไร แต่สิ่งที่หนังสือเล่มนี้จะสอนคือ ความผิดพลาดของนักลงทุนที่ผิดพลาดกัน ไม่ว่าจะเป็นการวิ่งซื้อหุ้นเติบโตแบบไม่คิด การซื้อหุ้น IPO ในภาวะตลาดกำลังขึ้น การจับจังหวะซื้อขายรายวัน ซึ่งสิ่งที่หนังสือสอนมีหลักฐานอ้างอิงเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นมาแล้ว และเกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่าเสียด้วย ซึ่งโดยส่วนตัวผมชอบแนวการสอนแบบนี้นะครับเพราะถ้าเราไม่ผิดพลาดแล้วเราจะเหลือแค่เท่าทุนกับกำไรซึ่งทำให้เราสบายใจในการลงทุนไม่ต้องมานั่งหวาดวิตก กลัวว่าจะมีปัญหาอะไรไหม เงินเราจะหายไปรึเปล่า

นักลงทุนเชิงรุก กับ นักลงทุนเชิงรับ

หนังสือนิยามนักลงทุนไว้สองประเภทใหญ่ๆคือ นักลงทุนเชิงรุก กับ นักลงทุนเชิงรับ ซึ่งเชิงรุกกับเชิงรับเนี่ยไม่ได้เกี่ยวกับการซื้อขายด้วยเงินจำนวนเยอะ หรือซื้อบ่อยแค่ไหน แต่เป็น นักลงทุนเชิงรับ (บางครั้งเรียกว่า นักลงทุนแบบอนุรักษ์นิยม) คือผู้ที่ลงทุนแบบเน้นไปยังเรื่องความปลอดภัยและไม่ต้องลงมือทำอะไรมากมาย ส่วนนักลงทุนเชิงรุกคือผู้ที่ยอมเสียเวลา ลงแรง ศึกษาเกี่ยวกับลงทุนนั้นเพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่มากกว่านักลงทุนเชิงรับ คำถามคือนักลงทุนเชิงรับได้ผลตอบแทนประมาณนั้นก็ขอท่านไปดูพวกกองทุนรวมดัชนีได้กำไรเท่าไหร่ นั่นแหละคือสิ่งที่นักลงทุนเชิงรับคาดหวังว่าจะได้

พออ่านมาถึงตรงนี้เป็นจุดเปลี่ยนความคิดเรื่องการลงทุนของผมเลย เพราะเมื่อลองคิดแล้วตัวผมเป็นนักลงทุนเชิงรับ เพราะผมไม่สนุกกับการที่ตัวเองต้องไปนั่งไล่อ่านงบการเงิน อ่านแผนการดำเนินงานบริษัท ทำความเข้าใจธุรกิจ ผมสนุกกับการเขียนโปรแกรม เขียนนิยาย อ่านหนังสือ มากกว่า ดังนั้นเมื่อรู้ว่าตัวเองเป็นลงทุนเชิงรับแล้ว หนังสือก็แนะนำว่าควรไปลงทุนในวิธีที่เหมาะกับตัวเองน่าจะดีกว่า เพราะจะทำให้คุณสบายใจไม่ต้องกังวล และไม่ต้องเจอกับศัตรูทางการลงทุนที่น่ากลัวตัวหนึ่งซึ่งก็คือตัวคุณเอง

ศัตรูคือตัวคุณเอง

หนังสือได้บอกว่าตัวคุณเองเป็นศัตรูที่น่ากลัวในการลงทุนตัวหนึ่งเลยเพราะคุณอาจจะอารมณ์ในการตัดสินใจเกี่ยวกับการลงทุนมากกว่าเหตุผล ตัวอย่างธรรมดาที่คุณเห็นได้ชัดเลยคือเมื่อราคาหุ้นขึ้นคุณมีแนวโน้มจะซื้อมัน ทั้งๆที่คุณไม่ได้ทำการวิเคราะห์มันก่อนว่า ราคานั้นกับมูลค่าที่แท้จริงนั้นมีราคาเท่าไหร่ ถ้ามันห่างกันมากคุณไม่ควรจะซื้อมันเสียด้วยซ้ำ แต่สุดท้ายอารมณ์ก็จะบอกคุณว่าเห้ยมันจะขึ้นอีกนะ ซื้อมันซะตอนนี้เลยดีกว่าแล้วพอมันขึ้นค่อยขาย ในทางกลับกันเมื่อราคาหุ้นลง คุณก็มีแนวโน้มที่จะขายหุ้นนั้น โดยถ้าคุณทำการวิเคราะห์ประเมินหามูลค่าที่แท้จริงแล้วพบว่า ราคามันถูกกว่ามูลค่าที่แท้จริงของบริษัทนั้น เหตุใดคุณจึงต้องขายมันล่ะ มันควรจะเป็นเวลาที่คุณควรจะซื้อมันสิเพราะต่อให้มันแย่ขนาดไหนคุณก็ได้กำไรเพราะถ้าขายทั้งบริษัทตามมูลค่าที่แท้จริง คุณก็ย่อมได้เงินมากกว่าตอนซื้อหุ้นที่ราคาต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริง แต่ในความเป็นจริงล่ะมันเป็นยังไง เฮ้ย ราคามันตก มันจะตกลงกว่านี้อีก รีบขายมันเลยสิจะเก็บมันไว้ทำไม นี่เป็นตัวอย่างง่ายๆที่แสดงให้เห็นว่าตัวคุณเองนั่นแหละที่เป็นหนึ่งในศัตรูของการลงทุน

อ่านแล้วได้อะไร

สำหรับผมการอ่านหนังสือให้ความรู้เกี่ยวกับการลงทุนที่สุดยอดมากเพราะเป็นการสอนหลักการการลงทุนที่ปลอดภัยโดยใช้เหตุใช้ผลในการวิเคราะห์ บอกเล่าข้อผิดพลาดของนักลงทุนในอดีตว่าเขาผิดพลาดเรื่องอะไร เพราะอะไร เพื่อเราจะได้ไม่ผิดซ้ำตาม ซึ่งแตกต่างจากหนังสือสอนการลงทุนเล่มอื่นๆที่เปิดมาก็สอนวิธีที่จะทำให้กำไร บอกแต่ข้อดีของวิธีนั้น ไม่ได้พูดถึงข้อเสีย วิธีป้องกันเลย พอพูดถึงตรงนี้เพื่อไม่ให้ผมพูดแต่ข้อดีของหนังสือเล่มนี้อย่างที่ผมพึ่งพูดไป ดังนั้นผมจะขอพูดถึงข้อเสียของหนังสือเล่มนี้ซึ่งมีดังต่อไปนี้ อย่างแรกเลยคือมันไม่ได้หวือหวาอะไรเลย ออกแนวอ่านแล้วน่าเบื่อเสียด้วยซ้ำ เนื่องจากเขาไม่ได้บอกวิธีที่ทำกำไรได้ดีซึ่งไม่ตรงกับที่หลายคนคาดหวัง อย่างที่สองคือหนังสือพูดถึงเรื่องในสหรัฐซะเยอะไม่ว่าหุ้น กองทุ้น พันธบัตร ซึ่งสำหรับคนไทยนอกวงการการลงทุนอย่างผมนี่คือไม่รู้จักเลย เวลาเขาเปรียบเทียบหรืออ้างถึงมันก็จะอึ้งๆ ข้อที่สามพอเราเริ่มเข้าใจว่าตัวเองเป็นนักลงทุนเชิงรับแล้ว บางบทนั้นแทบไม่มีความน่าสนใจที่จะอ่านเลยเพราะเป็นการวิเคราะห์บริษัทซึ่งนักลงทุนเชิงรับอย่างผมนั้นจะโยนเงินไปเข้ากองทุนแบบดัชนีที่มีคนจัดการให้น่าจะดีกว่า (แต่ถ้าจะลงทุนด้วยตัวเองก็ได้นะ แต่พอมันต้องเริ่มใช้ความพยายามมันจะเริ่มกลายเป็นนักลงทุนเชิงรุก)

หนังสือเล่มนี้ทำให้ผมเข้าใจว่าตัวเองเป็นนักลงทุนเชิงรับ ก็ขี้เกียจทำอะไรมากมายอะนะ ไปเขียนนิยาย ทำ Blog เขียนโปรแกรมสนุกกว่าเยอะ ดังนั้นการลงทุนที่ผมทำมาตั้งแต่เริ่มซึ่งคือกองทุนรวมดัชนีก็ตอบโจทย์การลงทุนอยู่แล้ว แต่อาจจะต้องไปดูตัวอื่น เช่นตราสารหนี้ระยะยาว เพื่อป้องกันความเสี่ยงในกรณีที่ต้องใช้เงินอย่างเร่งด่วนในเวลาที่หุ้นดิ่งลงเหว (แต่ตอนมันดิ่งลงเหวผมก็คงไม่ขายมันออกมาอะนะ จริงๆมีเงินสดไว้อยู่แล้วแต่มันโดนเงินเฟ้อเล่นงานอยู่ทุกวัน)

จริงๆในหนังสือเล่มนี้มีอีกหลายเรื่องที่ผมไม่ได้พูดถึง ไม่ว่าจะเป็นการวิเคราะห์ว่าหุ้นตัวนี้ดีหรือไม่ดี มูลค่าที่แท้จริงควรจะเป็นเท่าไหร่ ส่วนเผื่อเพื่อความปลอดภัยคืออะไร จะจัดการเงินเฟ้อยังไง จะตรวจสอบที่ปรึกษาทางการเงินอย่างไร เป็นต้น โดยส่วนตัวถ้าคุณพอมีเงิน หรือสามารถไปยืมจากห้องสมุดได้ ผมก็แนะนำให้ไปหาอ่านครับ รับรองคุ้มกับเวลาและเงินที่เสียไปแน่นอน